วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เจมส์ คาเมรอน James Cameron ผู้กำกับระดับออสการ์


       มาติดตามดูวิถีความสำเร็จของ เจมส์ คาเมรอน James Cameron ผู้กำกับระดับออสการ์ กันเลยดีกว่า


       jame cameron เกิดวันที่ 16 สิงหา ปี 54 นับไปนับมาก็ 55 แล้วครับ คาเมรอนไม่ใช่อเมริกันแต่กำเนิดเพราะเขาเกิดและถือสัญชาติแคนนาดา พ่อเป็นวิศวกรด้านวางระบบและไฟฟ้า มารดาเป็นนางพยาบาลและจิตกร ตอนเด็กๆคาเมรอนเคยให้สัมภาษณ์ ว่าในวัยเด็กของเขาไม่ลำบากแต่ก้ไม่หรูหรา มีชีวิตเรียบง่ายสบายๆ ไม่ยากจนค่นแค้น จึงมีความฝันแบบเด็กๆอยากเป็นพวกจิตกรแบบมารดา
       jame cameron เขาผ่านการเรียนที่แคลลิฟอร์เนียร์ และโตรอนโต  ต่อมาเขาดร็อปดเรียนไปซะเฉยๆเหมือนกับกำลังหาตัวเองไม่เจอ โดยหยุดเรียนตอนปี 2 ไปทำงานรับจ้างทั่วไป ทั้งขับรถบรรทุกและงานเขียน ระหว่างนั้นก็พยายามเรียนด้าน สเปเชียล เอฟเฟค ด้วยตนเอง จนวันหนึ่งในปี 77 เขาได้มีโอกาสได้ดู STARWARS ของลูคัส เขาบอกกับตัวเองว่า จะสร้างหนังที่ดีเทียบเท่าสตาร์วอร์ให้ได้ ในปีถัดมาเขาสมัครรับทำโมเดลให้กับ Roger Corman Studios ทั้งเก็บเงินซื้อกล้องถ่ายหนังมาลองจับมุมภาพเอง ครีเอทพ์ภาพที่ตนเองอยากได้ เขาทำงานได้ดีจนได้เป้น อาร์ตไดเร็เตอร์ในหนังเรื่องแรก  Battle Beyond the Stars (1980) 
       แล้วก้าวกระโดดของเขาก็มาถึงเมื่อได้มีโอกาสทำงานในการออกแบบเอ็ฟเฟ็กซ์  ในหนังของ จอห์น คาร์เพนเตอร์ เรื่องดัง   Escape from New York (1981)  และผลงานลำดับต่อๆมาที่เขาเป็นทั้งที่ปรึกษาและออกแบบด้านเทคนิคพิเศษ นั้นต่างสร้างเครดิตให้เขาไล่มาเลยตั้งแต่ Android (1982),  Galaxy of Terror (1981) แม้เเต่หนังเล็กๆอย่าง  Piranhaและ  Piranha II: The Spawning
        หลัง จากนั้นสามปี เขานำโปรเจ็คที่คิดไ้ด้โดยบังเอิญ ไปเสนอ ตอนแรกเขากะวางดาราที่หมายตามาเเสดงจากเรื่องปิรันย่า แต่เมื่อต้องมาพบกับ อาร์โนล ชวาสเซเน็กเกอร์ ทุกอย่างที่เขาคิดเปลี่ยนไป นั่นคือเขาเปลี่ยนพล็อตหนังเเละนำอาร์โนลมาแสดงเป็นผู้ร้ายตัวดำเนินเรื่อง แทน
       ต่อมา คาเมรอนได้เข้ามาทำหนังเรื่องแรกของเขา คือ The Terminator ในปี 1984 ครับ เดิมทีเขาไม่ได้ตั้งใจมากำกับเพราะเเค่ทำร่างคร่าวๆถึงฉากมุมกล้อง สกรีนเพล์ ไว้เพื่อขายต่อเท่านั้น เเต่ต่อมาเมื่อ โออีรอน สตูดิโอและ  Gale Anne Hurd เข้ามายื่นโอกาสสำคัญในชีวิตให้เขา(ซึ่งต่อมาคือภรรยาของเขา) ในการกำกับหนังเรื่องนี้เเละพบกับ อาโนล ชวาสเซเน็กเกอร์ ทำให้เขาเข้ามาทำหนังที่ทุนสร้างเพียง 5 ล้านเหรียญ แต่ทำเงินไปถึง เกือบ ๆ 80 ล้านในสมัยนั้นแถมด้วยกลายเป็นภาคต่อที่ทรงคุณค่าและมีการซื้อขายที่แพงหลุด โลก หลังการล่มสลายของ Mario Kassar แห่ง Carolco Pictures ในสมัยหลังภาคสอง

      ผลงานเขียนและกำกับของเขาเช่น ฅนเหล็ก 2029 และ ไททานิก ที่ขึ้นแท่นภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดอันดับหนึ่งตลอดกาลในปี ค.ศ 1997 จนถึงปัจจุบันนี้ผลงานการกำกับของเขามียอดรวมราว 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปรับรายได้ตามอัตราเงินเฟ้อ หลังจากมีผลงานภาพยนตร์หลายเรื่อง แคเมรอนเน้นการทำงานด้านการผลิตสารคดีและระบบกล้องฟิวชันดิจิตอล 3 มิติ เขากลับมาทำผลงานภาพยนตร์อีกครั้งในรอบ 12 ปี ในผลงานเรื่อง อวตาร ที่ใช้เทคโนโลยีระบบกล้องฟิวชัน ภาพยนตร์ฉายวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2009 และอีกเช่นเดียวกันภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ได้ทำลายสถิติภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลของไททานิก ที่สร้างโดยเขาเอง ซึ่งครองสถิติมายาวนานถึง 12 ปี ลงอีกเช่นกัน
       เจมส์ แคเมรอน เป็นผู้ริเริ่มสร้างภาพยนตร์ 3Dเป็นคนแรก โดยเล็งเห็นว่าจะได้อรรถรถในการรับชมมากขึ้นพร้อมกันค่าตั๋วภาพยนตร์ที่จะทำ รายได้ได้มากขึ้น โดยเขาเคร่งครัดและกล่าวไว้ว่า "ภาพยนตร์ 3 มิติควรจะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้กับเฉพาะภาพยนตร์ในสมัยใหม่หลังปี ค.ศ. 2009 เท่านั้น ไม่ควรนำภาพยนตร์ที่ไม่ได้ผลิตเป็น 3 มิติตั้งแต่แรกมาดัดแปลงให้เป็น 3 มิติอีก เว้นเสียแต่ว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่ได้ผลิตเป็น 3 มิติในช่วงที่เทคโนโลยียังไม่สามารถทำได้" ภาพยนตร์ 3D สุดอลังการอย่าง อวาตาร จึงได้ทำลายสถิติภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลของไททานิก



"มุ่งมั่นอยู่กับฝัน และทำมันให้เป็นจริง"


            สำหรับบทความต่อไปเราจะไปติดตามความสำเร็จของ 10 มหาเศรษฐีระดับโลก ที่เรียนไม่จบมาหวิทยาลัย คนต่อไป นักร้องสาว Lady Gaga : นักร้องซุปเปอร์สตาร์ หลุดโลก สำหรับบทความนี้ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org และ http://www.ac108.com
 

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิถีแห่งความสำเร็จของสตีฟ จอบส์ (Steve Jobs)

        ไม่ได้มาอัฟเดทBlog หลายวันเลย เนื่องจากงานยุ่งมากช่วงที่ผ่านมา สำหรับบทความนี้ก็เราก็จะมาติดตามดูวิถีความสำเร็จของสตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งแอปเปิ้ล หรือที่เรารู้จักกันได้ในปัจจุบันอย่างเจ้า I-phone  I-pad กว่าสตีฟจะประสบความสำเร็จนั้นเขาทำอะไรบ้างกับชีวิตของเขา ไปติดตามกัยเลย


       สตี เฟน พอล จอบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955 ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรนอกสมรสของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัย กับศาตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ มารดาแท้ๆ ยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ครอบครัว ?จอบส์? ซึ่งมีหัวหน้าครอบครัวเป็นช่างเครื่อง โดยขอสัญญาว่า บุตรชายของเธอจะต้องได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
       เมื่อโตขึ้น จอบส์เข้าศึกษาต่อที่ Reed College ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ได้เพียง 6 เดือน ก็ลาพักเรียน เพราะไม่เห็นความน่าสนใจของสิ่งที่เขาเรียนอยู่ แต่เขาก็กลับเข้าศึกษาใหม่อีก 1 ปีครึ่ง โดยลงเรียนเฉพาะ คอร์สที่เขาสนใจ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษร (ซึ่งภายหลังเขาได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการออกแบบตัวพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ Macintosh) หลังจากนั้น เขาหยุดเรียนถาวรและไม่ได้ศึกษาจนจบมหาวิทยาลัยตามที่มารดาแท้ๆ ของเขาหวังไว้
       ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยนี้เองที่จอบส์เริ่มหันมาศึกษา พุทธศาสนานิกาย เซน เขาสนใจอ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนาหลายเล่ม และหนังสือที่มีอิทธิพล สูงสุดกับเขาคือ Zen Mind, Beginner's Mind ซึ่งเขียนโดยชุนริว ซูซุกิ กล่าวกันว่า หลังการศึกษาหลักธรรมของเซน จอบส์เริ่มมีความเชื่อว่า การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณนั้น ก่อให้เกิดปัญญา เขาจึงเริ่มฝึกสมาธิในห้องนอนแคบๆ ที่แชร์ร่วมกับ "แดเนียล คอตคี" เพื่อนสนิท ท่ามกลางกลิ่นธูป

       ใน ปี 1974 จอบส์ ในวัย 19 ปี ได้ขอลาพักงานประจำ ที่เขาทำอยู่ในบริษัทเครื่องเล่นวิดีโอเกมส์ Atari เพื่อเดินทางไปอินเดีย เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมกับเพื่อนรัก "แดเนียล คอตคี" เพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการรู้แจ้งเห็นจริงด้านจิตวิญญาณ และเมื่อเดินทางกลับสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง เขาได้กลายเป็นพุทธศาสนิกชน สวมเสื้อผ้าแบบอินเดียโบราณและโกนศีรษะ
       หลังจากนั้น เขาได้แวะเวียนไปที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส ในเมืองลอส อัลทอส รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นประจำ ที่นี่เขาเริ่มฝึกการบำบัดแบบกรีดร้องดังๆ และรับประทานผลไม้เป็นอาหาร และผลไม้ที่เขาโปรดปรานเป็นพิเศษก็คือ แอปเปิ้ล นั่นเอง
       ในปี 1976 ขณะอายุ 21 ปี จอบส์ได้เข้าทำงานกับบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด และเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนอย่างจริงจังกับ "โกบุน ชิโนะ โอโตโกวะ" พระอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส (ซึ่งภายหลัง เมื่อจอบส์เข้าพิธีแต่งงานแบบเซน กับ "ลอรีน เพาเวล" ในวันที่ 18 มีนาคม 1991 พระอาจารย์โอโตโกวะได้มาเป็นประธานในพิธี)
       ใน ปี 1976 จอบส์และเพื่อนสมัยเรียนที่ชื่อ ?สตีฟ วอซเนียก? ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Apple Computer ขึ้นที่โรงรถในบ้านของจอบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตา ได้แก่เครื่อง Apple I และเพียง 10 ปีให้หลัง Apple ก็เติบโตจากคนเพียง 2 คนกลายเป็นบริษัทใหญ่โตที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ และพนักงานมากกว่า 4,000 คน!!

       เมื่อ จอบส์อายุ 30 ปี หลังจากเพิ่งเปิดตัว Macintosh เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดของตัวเองได้ปีเดียว เขาถูกไล่ออกจากบริษัทที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้ง หลังจากทะเลาะกับผู้บริหาร และกรรมการบริษัทก็เข้าข้างผู้บริหารคนนั้น
       เรื่องนี้เป็นความสูญ เสียครั้งใหญ่ในชีวิตของเขา จอบส์กล่าวว่า เขาได้สูญเสียสิ่งที่ได้ทำมาตลอดชีวิตไปในพริบตา ถึงกับคิดจะออกจากวงการคอมพิวเตอร์ไปชั่วชีวิต เขาไม่ได้ทำอะไรหลังจากนั้นอีกหลายเดือน
        แต่แล้วความรู้สึกอย่าง หนึ่งก็สว่าง ขึ้นข้างในตัวของจอบส์ ซึ่งเขาค้นพบว่า ตัวเองยังคงรักในสิ่งที่ทำมาแล้ว ความล้มเหลวที่ Apple ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความรักที่เขามีต่อสิ่งที่ได้ทำมาแล้วได้ ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งต่อมาเขาได้พบว่า การที่เขาถูกไล่ออกจาก Apple ได้กลายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิต เพราะภาระอันหนักจากการประสบความสำเร็จในอดีตที่เขาแบกไว้นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยความเบาสบายในการเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ซึ่งช่วยปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ นั่นก็คือเขาได้ปล่อยวางความสำเร็จเก่านั้นลง และเริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่เบาสบาย เบิกบาน เป็นจิตของผู้เริ่มต้นอย่างที่เขาเคยบอกไว้นั่นเอง
       จอบส์กล่าวว่า ความล้มเหลวเป็นยาขม แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ เมื่อชีวิตเล่นตลกกับคุณ จงอย่าสูญเสียความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณรัก ดังนั้นคุณจะต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ เพราะวิธีเดียวที่จะทำให้คุณเกิดความพึงพอใจอย่างแท้จริง คือการได้ทำในสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันยอดเยี่ยม และวิธีเดียวที่จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ก็คือ คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณทำ และถ้าหากคุณยังหามันไม่พบ อย่าหยุดหาจนกว่าจะพบ และคุณจะรู้ได้เองเมื่อคุณได้ค้นพบสิ่งที่คุณรักแล้ว
หลัง จากนั้น เขาได้เริ่มตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT และ Pixar (ซึ่งขณะนี้เป็นสตูดิโอผลิตการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก) ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องแรกของโลกนั่นคือ Toy Story
       ส่วน Apple ซึ่งไร้เงาของจอบส์นั้น ไม่ได้เฟื่องฟูขึ้นเลย ดังนั้นบริษัทฯจึงได้หันมาซื้อบริษัท NeXT เพื่อทำให้จอบส์ได้กลับคืนสู่ Apple อีกครั้ง รวมทั้งเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นขึ้นที่ NeXT ก็ได้กลายเป็นหัวใจในยุคฟื้นฟูของ Apple
        ในปีค.ศ. 199ุุ6 แอปเปิลได้ซื้อกิจการบริษัทเน็กซ์ คอมพิวเตอร์ด้วยราคา 402ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำจอบส์กลับมาสู่บริษัทที่เขาก่อตั้งเอาไว้ ในปีค.ศ. 1997 เขาได้กลายเป็นผู้บริหารระดับสูง"ชั่วคราว"ของแอปเปิล หลังจากที่ผู้จัดการหลายคนเสียความเชื่อมั่นในตัว จิล อะเมลิโอ ผู้บริหารระดับสูงในขณะนั้นที่ถูกถอดออก ในช่วงที่กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำของแอปเปิล จอบส์เรียกชื่อตำแหน่งของเขาว่า "ไอซีอีโอ" (iCEO)


25 เคล็ดลับความสำเร็จของ Steve Jobs
1. Beginners don’t have baggage – เริ่มอย่างไร้กังวล
เริ่มต้นเล็กแต่คิดใหญ่ ผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเริ่มจากศูนย์แล้วนับหนึ่ง จากเอแล้วไปบี มักเป็นคนที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ดีๆ “ผมไม่รู้คุณค่าของปรัชญานี้จนกระทั่งผมโดนเฉดหัวออกจากแอ็ปเปิ้ลครั้งแรก นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับผมเลยทีเดียว ความกดดันในความสำเร็จถูกแทนที่ด้วยความรู้สึกโปร่งโล่งสบายของการเป็นผู้ ที่เพิ่งเริ่มต้น ไม่ต้องกังวลกับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น เป็นช่วงเวลาที่ผมมีความคิดสร้างสรรค์และมีไอเดียกระฉูดมากที่สุด”

2. Be bold – จงห้าวหาญ
สตีฟมักย้ำถึงการทำสิ่งที่ชัดเจนด้วยความกล้าและปราศจากความกลัว เขากล่าวว่า “ชีวิตคนสั้นนัก จะตายเมื่อไหร่ไม่รู้”

3. Be what’s next – มองหาสิ่งใหม่ มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ จงเรียนรู้ อย่าฟูมฟายกับอดีตที่จบไปแล้ว อย่าคร่ำครวญกับสิ่งที่หายไป เราควรที่จะคิดถึงสิ่งใหม่ๆในชีวิตของเราที่ยังรอการค้นพบ บางครั้งก้าวแรกอาจจะแสนยาก แต่จงเริ่มต้นทำ และความกล้าหาญจะเกิดขึ้นตามมา “ถ้าผมได้บริหารแอ็ปเปิ้ล ผมคงจะมุ่งพัฒนาให้แม็คอินทอชเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าสุดๆ ด้วยการคิดค้นลูกเล่นใหม่ๆ สงครามพีซีมันจบนานแล้ว และไมโครซอฟท์คือผู้ชนะ”

4. Design by committee doesn’t work. – อย่าให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาตัดสินชี้ชะตา
มัน เป็นเรื่องยากที่จะออกแบบอะไรซักอย่างตามความต้องการของพวกคนที่มานั่ง ประชุมกัน คนเราส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าอยากได้อะไรจริงๆ จนกว่าจะได้เห็นสิ่งนั้น”

5. Design is more than veneer – การออกแบบไม่ใช่การสร้างเปลือกนอกเพื่อห่อหุ้ม แต่มันคือสิ่งที่มีมิติและมีองค์ประกอบซ้อนกันหลายชั้น
“ใน บริบทของใครหลายคน การออกแบบเป็นแค่การสร้างเปลือกนอก เป็นแค่การตกแต่งภายใน เปรียบเสมือนผ้าหุ้มโซฟา แต่สำหรับผมแล้ว การออกแบบคือจิตวิญญาณขั้นต้นของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ที่มีหัวใจของการออกแบบที่ดีแสดงออกถึงพิ้นผิวของมัน ซึ่งทับซ้อนกันอยู่หลายระดับ”

6. Don’t live someone else’s life – จงใช้ชีวิตในแบบของคุณ
“ช่วง เวลาชีวิตสั้นนัก อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่าด้วยการทำตามผู้อื่น อย่ายึดติดกับกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และอย่าปล่อยใจไปตามความคิดของคนอื่น เหนือกว่าสิ่งอื่นใด ทำตามที่หัวใจคุณเรียกร้องและสัญชาตญาณ”

7. Drive to do great things – ค้นหาความทะเยอทะยานและปรารถนาที่แท้จริงของคุณให้พบ
“นึกถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และทำมันให้แตกต่างจากคนอื่น หนทางเดียวที่จะสร้างผลงานยิ่งใหญ่ได้ก็คือรักในสิ่งที่คุณทำ จงสร้างความประทับใจให้ตัวเองมิใช่ผู้อื่น”

8. Excellence is a way of life – มองหาความเป็นเลิศ
สตี ฟได้บรรลุแนวทางนี้ด้วยการนำศิลปะและวิศวกรรมมาเรียงร้อยด้วยกันอย่างลงตัว เขาได้ยกระดับของสุนทรีย์แห่งการออกแบบให้สูงขึ้น “คุณภาพและความงามคือเป้าหมายสูงสุด หลายคนมักไม่คุ้นเคยกับสภาวะการทำงานที่ต้องอาศัยความเป็นเลิศ เพราะไม่ต้องใช้มันบ่อยนัก ถึงกระนั้นความเป็นเลิศคือหัวใจสำคุญที่สุดของการทำงาน”

9. Get out of the way for the moving force – จงอย่าเป็นตัวถ่วง

สตี ฟไม่เคยเก็บคนไร้ประโยชน์เอาไว้ เขาตระหนักดีว่าคนที่ทำงานคือพวกที่สร้างประโยชน์ “หน้าที่หลักของผมคือทำให้คนที่ทำงานจริงๆ นั้นอยู่ดีมีสุข และเก็บพวกคนที่ไม่ทำงานเอาไว้ให้ห่างจากคนที่มีประโยชน์เหล่านี้”

10. If they fall in love with the company, everything else takes care of itself – มองหาคนทำงานที่มีความรักทุ่มเทให้กับองค์กร

“จริง อยู่ที่สมรรถภาพคือตัวแปรแห่งความสำเร็จ แต่คนทำงานเหล่านั้นจะรักบริษัทหรือเปล่า ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเขารักแอ็ปเปิ้ล เขาจะนำพาแต่สิ่งที่ดีที่สุดมาสู่แอ็ปเปิ้ล ไม่ใช่ทำเพื่อตัวผมหรือตัวเองหรือใครก็ตาม”

11. It better be worth it. – ไม่ลองไม่รู้ จงทำให้ดีที่สุด อย่ามัวแต่หยุดนิ่งอยู่กับที่

“เมื่อเราได้เลือกแล้วว่าจะทำอะไร ฉะนั้นจงเชื่อว่ามันจะออกมาดีคุ้มค่าเหนื่อย”

12. It’s not the money.  It’s the impact.- เงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต คุณค่าของเราอยู่ที่การได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่โลก
“ผมไม่แคร์หรอกว่าจะได้นอนกอดเงินเป็นล้านอยู่ในหลุมศพ สิ่งสำคัญสำหรับผมคือการได้ระลึกถึงสิ่งดีงามที่เราได้ทำลงไปก่อนเข้านอน”

13. It’s the crazy ones who change the world – จงคิดนอกกรอบ
กล้าทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น คนที่บ้าพอที่จะทำในสิ่งที่ไม่เหมือนใครสามารถเปลี่นแปลงโลกได้ เพราะสิ่งนั้นคือผลพวงของอัจฉริยะ

14. Innovation distinguishes between a leader and a follower.- สร้างนวัตกรรมใหม่
นวัต กรรมจะเป็นตัวชี้วัดว่าใครเป็นผู้นำ ใครเป็นผู้ตาม จ้างคนที่ต้องการทำสิ่งที่ดีที่สุดในโลกมาทำงาน ถึงแม้คุณจะมีคนทำงานเก่งกาจมากมาย คุณต้องเป็นผู้นำ ทำหน้าที่ชี้นำให้พวกเขาทำงานร่วมกันเป็นทีม “นวัตกรรมไม่ได้เกิดจากการหว่านเม็ดเงิน มันเกิดจากการใช้มันสมองของคนให้เต็มที่ด้วยการเป็นผู้นำที่ดี ตอนที่เราคิดค้นเครื่องแม็คขึ้นมา ไอบีเอ็มใช้เงินลงทุนมากกว่าเรา 100 เท่า มันอยู่ที่คนของคุณ อยู่ที่แนวทางของการนำพาคนเหล่านั้น”

15. Make people great. – เคี่ยวเข็ญคนของคุณให้เป็นคนเก่ง
“ผมจะไม่ทำตัวเหลาะแหละกับลูกน้อง หน้าที่ผมคือเขี่ยวเข็ญให้พวกเขาเก่งยิ่งขึ้นไปอีก”

16. Perseverance pays off.- ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น

สตีฟเชื่อว่า “ครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบทั้งมวลแห่งความสำเร็จของพวกนักลงทุนทางการเงินคือความวิริยะอุตสาหะ”

17. Put your heart and soul into it – จงทำมันให้เต็มที่ เพราะเป้าหมายมีไว้พุ่งชนและพิชิต

“กุญแจสำคัญคือความไม่กลัว ทำงานด้วยหัวใจและจิตวิญญาณแห่งการบรรลุเป้าหมาย”

18. Pick your priorities carefully – ลำดับความสำคัญอย่างระมัดระวัง

การ มีไอเดียดีๆ ในหัวเป็นร้อยเรื่องคือสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่มันจะกลายเป็นเรื่องเยี่ยมที่สุด หากเราลำดับความสำคัญให้ดี “การเพ่งความสนใจให้กับทุกเรื่องในหัวเป็นสิ่งดี แต่นั่นไม่ใช่คำตอบแห่งความสำเร็จ ควรยึดมั่นในบางอย่างก็พอ แล้วปล่อยที่เหลือเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจ”

19. Simplicity wins – ความเรียบง่ายคืออาวุธลับและอำนาจที่จะทำให้พิชิตความสำเร็จ

“เรา ควรตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน และขจัดความยุ่งยาก ด้วยการตั้งคำถามว่า เราจะทำให้มันเรียบง่ายมากขึ้นและแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นได้ในเวลาเดียวกันได้ หรือไม่”

20. Talent is a huge multiplier.- พรสวรรค์ทำให้เกิดการแตกหน่อ คนเก่งมักดึงคนเก่งให้มาอยู่ด้วยกัน
“ประสบการณ์ สอนผมว่า การที่เราได้คนเก่งมาร่วมงาน ทำให้องค์กรสามารถดึงคนเก่งจากที่อื่นมาร่วมงานได้มากขึ้น  ทั้งนี้โดยธรรมชาติของคนพวกนี้ มักชอบทำงานกับคนเก่งด้วยกัน”

21. Take responsibility for the complete user experience.- ความคิดเห็นจากผู้ใช้และลูกค้าคือเสียงสำคัญ
“ดี เอ็นเอของเราคือบริษัทที่คำนึงถึงผู้บริโภค เสียงตอบรับไม่ว่าดีหรือร้าย บวกหรือลบ ล้วนแล้วแต่มีบทบาทเท่ากันในการปรับปรุงการให้บริการ หน้าที่ของเราคือการรับผิดชอบต่อสิ่งที่ลูกค้าได้รับจากเรา”

22. What you don’t do defines you as much as what you do – “ผมมีความภูมิใจในสิ่งที่ยังไม่ได้ลงมือทำเท่ากับสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว”

23. You have nothing to lose.- ไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว

ทำ ด้วยใจ สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ด้วยความรัก “อีกไม่กี่วันพวกเราก็ตายแล้ว ฉะนั้นอย่าไปคิดว่าเราได้สูญโอกาสไปแล้วเท่าไหร่ การคิดแบบนี้เหมือนกับดักทางความคิด ให้คิดว่าเราได้เปลือยกายจนล่อนจ้อน จะมีเหลืออยู่ก็แต่ร่างกายและหัวใจ จงทำทุกอย่างให้เต็มที่”

24. You just might be right, even if nobody listens to you. -การที่ไม่มีใครฟังคุณ ไม่ได้หมายความว่าคุณผิดสที ฟเคยเจอกับตัวเอง เลยเล่าให้ฟังงว่า “คุณรู้มั้ย ผมเคยมีแผนการวิเศษที่จะช่วยกู้ชีพแอ็ปเปิ้ลได้ มันเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ผมไม่สามารถบอกใครได้ เพราะไม่มีใครยอมฟัง” อุทาหรณ์ของเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การที่ไม่มีใครฟังคุณเลย ไม่ได้หมายความว่าคุณผิด

25. Your brand is your most valuable asset – จุดยืนของตัวเองคือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด
นั่นคือคุณแตกต่างจากคนอื่น ทำให้คนอื่นทราบว่านี่แหละคือตัวคุณ นี่แหละคือออร่าของคุณ

 "เวลาของคุณจึงมีจำกัด และอย่ายอมเสียเวลามีชีวิตอยู่ในชีวิตของคนอื่น จงอย่ามีชีวิตอยู่ด้วยผลจากความคิดของคนอื่น และอย่ายอมให้เสียงของคนอื่นๆ มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องมีความกล้าที่จะก้าวไปตามที่หัวใจคุณปรารถนาและสัญชาตญาณของคุณจะ พาไป เพราะหัวใจและสัญชาตญาณของคุณรู้ดีว่ คุณต้องการจะเป็นอะไร"


       สำหรับบทความต่อไปเราจะไปติดตามความสำเร็จของ 10 มหาเศรษฐีระดับโลก ที่เรียนไม่จบมาหวิทยาลัย คนต่อไป นั่นก็คือ James Cameron : ผู้กำกับระดับออสการ์ สำหรับเรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น คราวหน้าเรามาติดตามกัน สำหรับบทความนี้ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org , http://www.divland.com, และ http://hitech.sanook.com

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บิล เกตส์ (Bill Gates) ผู้ประสบความสำเร็จอย่างมั่งคั่ง

       บทความนี้ก็มาถึงคิวของ หนทางความสำเร็จของ Bill Gates : ผู้ก่อตั้ง Microsoft ตามที่ได้เอ่ยไว้ในบทความที่แล้ว บิลเกตส์ ถือว่าเป็นบุคคลคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเลยก็ว่าได้ ไม่มีใครบนโลกนนี้ไม่รู้จัก บิลเกตส์ เอาล่ะเราจะไปติดตามดูสิว่า บิลเกตส์ ทำอย่างไรถึงได้ประสบความสำเร็จในชีวิต  ไปติดตามกันเลย

        บิลล์ เกตส์ เกิดที่เมืองซีแอทเทิล มลรัฐวอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955 บิดาชื่อนายวิลเลียม เอ็ช เกตส์ จูเนียร์  มีอาชีพนักกฎหมายของบริษัท มารดาชื่อแมรี แมกซ์เวล เกตส์ เป็นสมาชิกคณะกรรมการของ Berkshire Hathaway,
First Interstate Bank, Pacific Northwest Bell และคณะกรรมการแห่งชาติของ United Way ชื่อเต็มของเขาคือ วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม ปู่ของเขาคือ วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ซีเนียร์3
        บิลล์ เกตส์เข้าศึกษาที่โรงเรียนเลคไซด์ อันเป็นโรงเรียนมัธยมที่ดีที่สุดในเมืองซีแอทเทิล ที่นั่นเองที่เขาได้พัฒนาทักษะในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม บิลล์ เกตส์ กับ พอล อัลเลน เพื่อนสนิท ได้แอบย่องเข้าไปในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยวอชิงตันทั้งคู่ถูกจับได้แต่ก็ได้เจรจาตกลงกับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียนได้ใช้ฟรี ต่อมา บิลล์ เกตส์ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ต้องพักการเรียนไปโดยไม่จบการศึกษา เพื่อที่จะได้เริ่มประกอบอาชีพ ทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ที่ฮาร์วาร์ด เขามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับสตีฟ บาลเมอร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ทั้งคู่เป็นเพื่อนร่วมห้องในหอพักระหว่างที่เป็นนักศึกษาปี 1 
       ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่ฮาร์วาร์ด เขาได้ร่วมกับ พอล อัลเลน เขียนต้นแบบ ภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นโปรแกรมอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกที่ประสบความสำเร็จทางการค้าในกลางคริสตทศวรรษที่ 70) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาเบสิก ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้ง่าย ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยดาร์ทเมาท์คอลเลจ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
        เกตส์สมรสกับ เมลินดา เฟร้นช์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1994 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันสามคน เจนนิเฟอร์ แคทารีน เกตส์
(เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1996) โรรี จอห์น เกตส์ (เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1999) และ ฟีบี อาเดล เกตส์
(เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2002)
        ในปี ค.ศ. 1994 บิลล์ เกตส์ได้ม้วนกระดาษไลเชสเตอร์ ซึ่งรวบรวมงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชีมาไว้ในครอบครอง
และในปี ค.ศ. 2003 ได้นำม้วนกระดาษนี้ออกแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเมืองซีแอทเทิล
        ในปี ค.ศ. 1997 เกตส์ได้ตกเป็นเหยื่อของแผนการขู่กรรโชกทรัพย์อันแปลกประหลาด ของนายอดัม ควินน์ เพลตเชอร์
ชาวเมืองชิคาโก ซึ่งเกตส์ก็ได้ขึ้นให้การต่อศาลในการพิจารณาคดีดังกล่าว เพลตเชอร์ถูกตัดสินลงโทษเมื่อเดือนกรกฎาคม
ค.ศ. 1998 และถูกจำคุกเป็นเวลา 6 ปี ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 เกตส์ถูกนายโนเอล โกดังจู่โจมด้วยการ
ปาขนมพายหน้าครีมใส่ ระหว่างการไปปรากฏตัวที่ประเทศเบลเยียม
       ตามรายงานของนิตยสาร Forbe บิล เกตส์ได้บริจาคเงินให้การรณรงค์หาเสียงของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 2004 และตามรายงานของศูนย์เฝ้าระวังทางการเมือง เกตส์ถูกระบุว่าบริจาคเงินอย่างน้อย 33,335 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับการรณรงค์หาเสียงมากกว่า 50 ครั้ง ตลอดฤดูกาลเลือกตั้งในปีค.ศ. 2004
       เมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2004 บิล เกตส์ ได้ร่วมกับคณะกรรมการบริหารของ Berkshire Hathaway เพื่อสานความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างเขากับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ Berkshire Hathaway เป็นกลุ่มบริษัทที่รวมเอา บริษัทประกันภัยไกโค Benjamin Moore (บริษัทสี) และ Fruit of the Loom (บริษัทสิ่งทอ) เข้าไว้ด้วยกัน เกตส์ยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารของ Icos ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของ Bothell
       เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2005 สำนักวิเทศสัมพันธ์ของสหราชอาณาจักรได้ประกาศว่า บิล เกตส์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน อันเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตอบแทนที่ต่อสิ่งเขาได้อุทิศให้กับบริษัทในสห ราชอาณาจักร และความพยายามของเขาในการลดปัญหาความยากจนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่เนื่องจากเขาไม่ได้เป็นบุคคลสัญชาติในกลุ่มประเทศเครือจักรภพ เขาจึงไม่สามารถใช้คำนำหน้าว่า เซอร์ ได้ แต่เราต้องใส่อักษร "KBE" (Knight Commander of The British Empire) ตามหลังชื่อของเขาแทน


เกียรติประวัติ
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยวาเซดะ ค.ศ. 2005
- รางวัลเกียรติยศผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน จากสหราชอาณาจักร ตามประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2005 [1]
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีหลวง (Roytal Institute of Technology) - กรุงสต็อกโฮล์ม
ประเทศสวีเดน ค.ศ. 2002
- ติดหนึ่งใน 100 อันดับบุคคลสำคัญผู้มีอิทธิพลต่อประชาชนในสื่อต่าง ๆ จากการจัดอันดับของ หนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน ค.ศ. 2001
- ติดอันดับบุคคลผู้มีอำนาจ, นิตยสารซันเดย์ ไทม ค.ศ. 1999
- อันดับ 2 ในการจัดอันดับ 100 ดาวรุ่ง, นิตยสารอัพไซด์ ค.ศ. 1999
- อันดับ 1 ในการจัดอันดับ 50 ดาวรุ่งในโลกไซเบอร์, นิตยสารไทม ค.ศ. 1998
- อันดับที่ 28 ใน 100 อันดับบุคคลสำคัญผู้มีอิทธิพลในวงการกีฬา, นิตยสารสปอร์ตติง นิวส์ ค.ศ. 1997
- ผู้บริหารระดับสูงแห่งปี, นิตยสารชีฟ เอกเซกคูทีฟ ออฟฟิซเซอร์ ค.ศ. 1994
- นักกีฏวิทยา ได้ตั้งชื่อแมลงวันตอมดอกไม้พันธุ์หนึ่งว่า Eristalis gatesi ตามชื่อของบิลล์ เกตส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

ประมาณการทรัพย์สินของเกตส์

        บิลล์ เกตส์ ติดอันดับหนึ่ง จากการจัดอันดับ "ฟอร์บ 400" ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2005 และติดอันดับหนึ่งในการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกของนิตยสารฟอร์บ ในปี ค.ศ. 1996 และระหว่างปี ค.ศ. 1998-2005 ซึ่งจากการจัดอันดับดังกล่าว สรุปได้ว่าทรัพย์สินสุทธิของเขามีมูลค่าดังต่อไปนี้:

- ค.ศ. 1996 - 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก

- ค.ศ. 1997 - 36.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 2 ของโลก
- ค.ศ. 1998 - 51.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 1999 - 90.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 2000 - 60.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 2001 - 58.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 2002 - 52.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 2003 - 40.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 2004 - 46.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 2005 - 46.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
- ค.ศ. 2006 - 46.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก

        การที่ทรัพย์สินสุทธิของเกตส์ มีมูลค่าลดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา
มีสาเหตุมาจากการที่หุ้นของไมโครซอฟท์มีราคาลดลง รวมถึงการที่เขาได้บริจาคเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้องค์กรการกุศลของเขา และแม้เขาจะมีรายได้ลดลงตามรายงานของนิตยสารฟอร์บในปีค.ศ. 2004 เกตส์ยังได้บริจาคเงินรวมกว่า 28,000ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับองค์กรการกุศลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

        เขาได้กลายเป็นบุคคลที่มั่งคั่งที่สุดในโลกไปเสียแล้ว แม้จะนับเอาประมุขของรัฐ
(ผู้ซึ่งทรัพย์สินมาจากสถานะทางสังคม) ไว้ในการจัดอันดับด้วยก็ตาม(แม้ว่าการจัดอันดับตามมาตรฐานของนิตยสารฟอร์บนั้น จะไม่รวมเอาประมุขของรัฐเอาไว้ด้วย ฟอร์บได้จัดทำบัญชีประมาณการทรัพย์สินของประมุขแต่ละประเทศไว้ต่างหากเมื่อนำรายชื่อจากการจัดอันดับทั้งสองแบบมารวมกันแล้ว พบว่าเกตส์เป็นบุคคลที่มั่งคั่งที่สุดในโลก)
 กฎ 11 ข้อ 
แห่งความสำเร็จของ "Bill Gate"
1.    จงปรับชีวิตของคุณ  คุณต้องยอมรับว่าชีวิตนั้นไม่ยุติธรรม ไม่มีใครเกิดมาสมบูรณ์แบบหรือโชคดี, คุณต้องเรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับชีวิตของคุณ  แล้วจงเปลี่ยนแปลงมัน  ทำอย่างไรการดำรงชีวิตของคุณจะดำเนินไปด้วยวิถีทางของคุณ  คุณต้องจัดการและลงมือทำด้วยชีวิตของคุณเอง
2.    นำชีวิตไปสู่ความสำเร็จ  โลกใบนี้ไม่แคร์ว่าคุณเป็นใคร คุณต้องทำเพื่อความสำเร็จเพียงแต่คุณสามารถยืนหยัดในชีวิตด้วยลำแข้งของคุณ   ความสำเร็จคือสภาวะชีวิตที่สูงสุด   มันสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทัศนคติ และแม้กระทั่งการยกย่องตนเอง   ถ้าคุณคิดว่าความสำเร็จไม่ใช่เป็นคุณ แล้วก็ถือว่าเป็นความคิดที่น่าละอายสิ้นดี

3.    ไม่มีความเจ็บปวด ไม่มีผลสำเร็จ   ความสำเร็จไม่เคยได้มาโดยอัตโนมัติ  คุณจำเป็นต้องลงแรงหากเป็นความปรารถนาของคุณ   นี้คือหลักการพื้นฐานในชีวิตของคุณ  คุณไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทหากคุณไม่สามารถทำงานนั้นได้  คุณไม่สามารถหาเงินได้ถึง 100,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือนหากคุณไม่ใช้ความพยายามหามา    ดังนั้นหยุดความคิดที่ว่าความสำเร็จลอยมาจากสวรรค์ โดยปราศจากทำงานหนักแล้ว ความสำเร็จจะไม่ใช่เป็นของคุณ

4.    การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคุณ  หากคุณคิดว่าครูของคุณในโรงเรียนเคร่งครัด, คิดว่านายของคุณหลังจากคุณได้เข้าไปทำงาน    หยุดการบ่นคนอื่น และเปลี่ยนแปลงทัศนคติถึงวิธีทีคุณมองสิ่งต่าง ๆ

5.    เรื่องราวทุกอย่าง ไม่วาเรื่องธุรกิจเล็กหรือใหญ่  พวกเขาสามารถทำเงินได้  ธุรกิจเล็กเติบโตเป็นธุรกิจใหญ่   ดังนั้นจากการก้าวไปทีละเล็กละน้อยทุก ๆวัน  คุณก็สามารถบรรลผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สักวันหนึ่ง

6.    เรียนรู้ข้อผิดพลาด  เป็นสิ่งที่บิลเกตส์แนะนำ เราจำเป็นต้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาด ทุกคนมีโอกาสผิดพลาด ไม่มีใครสมบูรณ์แบบในโลกนี้  หากคุณเคยผิดพลาด แล้วเรียนรู้จากมัน  และไม่ทำผิดพลาดซ้ำอีกครั้ง  เพียงเท่านี้คุณก็สามารถปรับปรุงตนเองไปสู่ความสำเร็จที่สูงกว่า

7.    ลงมือทำด้วยตนเอง ในโลกนี้คุณมีสิ่งที่ต้องทำด้วยตัวของคุณเอง  หยุดพึ่งพาคนอื่น หากคุณยังพึ่งพาคนอื่น คุณจะไม่สามารถเรียนรู้ถึงกระบวนการ ยิ่งคุณพึ่งคนอื่นเท่าใด คุณก็จะสูญเสียความเป็นตัวของคุณเอง  และเมื่อคุณจะปกป้องการพึ่งพาคนอื่น ความสำเร็จก็เป็นของคุณ ไม่ใช่ของผู้อื่น

8.    คุณมีโอกาสครั้งเดียว  สิ่งต่าง ๆ ส่วนมากในชีวิตของเราเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว  ดังนั้นคุณต้องใช้โอกาส และซาบซึ้งกับมัน   บางครั้งหากคุณสูญเสียโอกาสแล้ว อย่าได้กังวลในสิ่งที่คุณสร้างโอกาสขึ้นมา
9.    จงสร้างคุณค่าในตัวคุณ  คนเรามีเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน 365 วันต่อปี  ความจริงเราไม่มีเวลามาก ชีวิตคนเราสั้นมาก  คุณต้องเรียนรู้คุณค่าของเวลา จงใช้เวลาของคุณไปสู่กระบวนการที่ทำให้คุณเติบโต, ทำให้คุณประสบความสำเร็จ  เพียงแต่จำไว้ว่าอย่าได้ผลัดวันประกันพรุ่ง

10. ทำในสิ่งที่คุณคาดว่าจะทำ  สิ่งที่คุณดูทีวีในทุกวันนี้ไม่ใช่โลกที่แท้จ
ริง ในโลกที่แท้จริงคุณจำเป็นต้องออกไปทำงานให้เกิดผลงานออกมา

11. จงทำดีกับทุกคนที่ล้อมรอบคุณ  นี้คือกฎทองคำของชีวิตในการทำดีกับทุกคน ทุกคนก็จะทำดีกับคุณ     ดังนั้นหากคุณต้องการความร่ำรวย จงทำให้คนอื่นรวยก่อน  กฎทองคำแห่งชีวิตไม่เคยเปลี่ยน และคุณต้องปฏิบัติตามกฎนี้เพื่อความสำเร็จ

       สำหรับผู้อ่านท่านไดต้องการที่จะประสบความรับเร็จอย่างสง่าแบบ บิต เกตส์ ต้องนำกฎ 11 ข้อนี้ไปใช้กับตัวเอง บทความต่อไปเราจะไปติดตามความสำเร็จของ Steve Jobs : ผู้ก่อตั้งและสร้างความยิ่งใหญ่ ให้แบรนด์ Apple กัน หลายท่านอ่านเคยได้ยินได้ฟังเรื่อวราวของ Steve Jobs กันมาบ้างแล้ว แต่ก็ฝากติดตามด้วยนะครับ สำหรับบทความนี้ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสำเร็จของ Henry Ford : ผู้ก่อตั้ง Ford Motor กว่าเราจะได้ขับรถฟอร์ด


          ฟอร์ด เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2406 ที่ฟาร์มใน Springwells Township ซึ่งปัจจุบันคือ เมือง Dearborn รัฐ Michigan จากครอบครัวชาวนา บิดาของเขาชื่อ William Ford มารดาชื่อ Mary Litogot เป็นหนึ่งในจำนวนพี่น้องทั้งสิ้น 8 คน เขาเรียนหนังสือ ในโรงเรียนเล็ก ๆ ที่มีเพียงห้องเดียว มีฐานะทางครอบครัว ที่ไม่ดีนัก ในวัยเด็กคุณพ่อของ Ford ได้มอบนาฬิกาให้เขาเรือนหนึ่ง ซึ่ง Ford ได้ทำการรื้อนาฬิกาชิ้นนั้นและประกอบมันขึ้นมาใหม่หลายครั้ง รวมถึงนาฬิกาเพื่อนๆ เขาด้วย จนในที่สุดเขาก็ได้เป็นช่างซ่อมนาฬิกาแต่หลังจากแม่ของเขาเสียชีวิต พ่อได้มอบกิจการฟาร์มของครอบครัวให้ Ford ดูแล แต่เขากลับไม่รู้สึกยินดีเพราะไม่ชอบงานไร่สวนจึงออกจากบ้านไปเป็นเด็กฝึกงานช่างเครื่องที่เมือง Detroit  ในวัยเพียง 16 ปี โดยเข้ามาทำงาน ที่ร้านซ่อมเครื่องยนต์ ในดีทรอยท์ (Detroit) ต่อมาในปี พ.ศ.2439 เฮนรี่ ฟอร์ด ก้าวขึ้นมา รับตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายช่างยนต์ของ "ดีทรอยท์ เอดิสัน" (Edison Illuminating Company) ซึ่งเป็นบริษัท ที่ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และในปีเดียวกันนั้น เขาผลิตยานที่สามารถเดินทาง โดยไม่ใช้ม้าลากได้ ยานที่ว่านี้ถูกตั้งชื่อว่า "ควอดรีไซ- เคิล" (Quadricycle) เขาสร้างมันในสวนหลังบ้าน และด้วยขนาดที่ใหญ่กว่า ประตูบ้านมาก ฟอร์ด ต้องยอมพังรั้วบ้านด้านหนึ่ง เพื่อที่จะขับมันออกมานอกบ้าน
              
              ต่อมาเขาได้ถูกบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า Westinghouseว่าจ้างเพื่อให้บริการทางด้านเครื่องจักรไอน้ำแก่ลูกค้า ซึ่งในขณะนั้น Ford ได้เรียนบัญชีควบคู่ไปด้วย

             จากนั้นในปี 1891 เขาได้กลายเป็นวิศวกรให้กับบริษัทสถานีไฟฟ้า Edison Illuminatingที่ก่อตั้งโดย Thomas Alva Edison นักประดิษฐ์ชาวอเมริกา และถูกเสนอให้เป็นหัวหน้าวิศวกรในปี 1893 ช่วงนั้นเขามีเวลามากพอที่จะอุทิศตนให้กับความสนใจของเขาในเรื่องของการ ทดลองเครื่องยนต์เบนซิน และการทดลองนี้ประสบความสำเร็จออกมาเป็นรถยนต์คันแรก Ford Quadricycleและนำไปให้เหล่าบรรดาผู้บริหารของ Edison ได้ทดลองขับ

            ต่อมาเขาได้ออกแบบรถคันที่สองซึ่งประสบความสำเร็จในปี 1898 และได้รับการสนับสนุนจาก William H. Murphy ทำให้ Ford ต้องลาออกจาก Edison มาก่อตั้งบริษัท Detroit Automobile Companyในปี 1899 แต่อย่างไรก็ตามบริษัทก็ผลิตได้เพียงแค่รถยนต์คุณภาพต่ำและราคาแพง ทำให้บริษัทไม่ประสบความสำเร็จและต้องยุบกิจการภายในเวลา 2 ปีต่อมา 

            ในปี 1901 Ford และผู้ช่วยของเขา Childe Harold Willsร่วมกันออกแบบและสร้างเครื่องยนต์ 26 แรงม้าจนประสบความสำเร็จ และได้รับการสนับสนุนจาก Murphyอีกครั้ง จึงก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาชื่อว่าHenry Ford Companyโดยที่ Ford ดำรงตำแหน่งในฐานะหัวหน้าวิศวกร ส่วนผู้สนับสนุนหลักอย่างMurphy ได้จ้าง Henry M. Lelandผู้ก่อตั้งรถยี่ห้อ Cadillac และ Lincolnมาเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท ต่อมาไม่นานFord ตัดสินใจลาออก ส่วนทางMurphy ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Cadillac Automobile Company

          จากนั้น Ford ได้เข้าร่วมทีมกับ Tom Cooper อดีตดาวรุ่งนักแข่งมอเตอร์ไซค์ผู้ผันตัวเข้ามาสู่วงการรถยนต์และผลิตเครื่อง ยนต์ 80 แรงม้า รถรุ่น 999 ที่คว้าชัยชนะในการแข่งรถในปี 1902 ทำให้ Ford ได้เจอกับคนรู้จักเก่าอย่าง Alexander Y. Malcomsonเถ้าแก่ถ่านหินแห่งเมืองDetroit ผู้ที่ให้การสนับสนุนและช่วยกันก่อตั้งบริษัท Ford &Malcomson, Ltd.เพื่อผลิตรถยนต์ จากนั้น Malcomson ได้สรรหาผู้ลงทุนเพิ่มขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่อีกครั้งเป็น Ford Motor Company ซึ่งต่อมาในปี 1908 ได้ทำการเปิดตัวรถรุ่นใหม่Ford Model T ซึ่งเป็นที่โด่งดังมากในขณะนั้น เพราะชาวอเมริกันส่วนใหญ่สามารถซื้อมาเป็นเจ้าของได้ด้วยความที่มีราคาไม่ แพงและขับขี่ง่าย การซ่อมแซมและชิ้นส่วนมีราคาถูก ทำให้หลายๆ บริษัททำการลอกเลียนแบบ จึงเป็นที่มาของกระแส Fordism ซึ่งมียอดขายเป็นจำนวนทั้งสิ้นถึง 15,007,034 คันในรอบ 45 ปี

           ตั้งแต่ปี 1958 บริษัท Ford Motor ได้ทำการเปิดตัวรถยี่ห้อใหม่ในเครือหลายยี่ห้อเช่น Edsel, Merkurและ Mercury ที่เพิ่งปิดตัวไปเมื่อปี 2010 ทั้งหมดได้ถูกยุบกิจการสืบเนื่องมาจากไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องของยอดขาย

          นอกจากนั้นFord ยังเป็นเจ้าพ่อแห่งการซื้อขายค่ายรถยนต์ในปี 1989 ได้กว้านซื้อกิจการของบริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตสายเลือดอังกฤษ Aston Martinและได้ขายออกไปในปี 2007 ให้กับ David Richardsบริษัทกลุ่มวิศวกรรม Prodriveแต่ก็ยังคงถือหุ้นส่วนอยู่จำนวนหนึ่ง จากนั้นในปี 1990 ซื้อกิจการของ Jaguar จากตลาดหุ้นลอนดอนและซื้อบริษัท Rover มาจาก BMW ในปี 2000 และได้ขายทั้ง Jaguar และ Land Rover ให้กับ Tata Motor ในปี 2008 จากนั้นได้ซื้อบริษัทVolvoในปี 1999 ขายต่อให้กับ Zhejiang Geely Holding Group หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน ในปี 2010 และปัจจุบันยังเป็นหุ้นส่วนของ Mazda อีกด้วย

ในปี 2010 Ford มียอดขายติดอันดับที่ 5 ของโลก และยังเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ถูกบันทึกสถิติในปี 2008 ไว้ว่า Ford ได้ผลิตรถยนต์จำนวน 5.532 ล้านคัน มีพนักงาน 213,000 คน โรงงานผลิตอะไหล่และประกอบรถยนต์ 90 แห่งรอบโลก และยังได้รับรางวัลสำรวจคุณภาพจาก J.D.Power And Associate


"If you think you can do a thing or think you can't do a thing, you're right."
Henry Ford
"ถ้าคุณคิดว่าคุณทำมันได้ หรือคุณคิดว่าคุณทำไม่ได้หรอก.. คุณก็คิดถูกต้องแล้ว"
เฮนรี่ ฟอร์ด
           คนเราจะประสบความสำเร็จหรือไม่ มันอยู่ที่ความคิดของเรา หากเราคิดว่าเราต้อง(ไม่ใช่จะ..นะ)เราก็จะสำเร็จเพราะอะไรนะหรือเพราะหากเราคิดว่าเราต้องประสบความสำเร็จ เราจะพยายาม อดทนทำในสิ่งที่เป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ จนในที่สุดเราก็จะสำเร็จ  แต่หากเราคิดว่าเราทำไม่ได้ เราก็จะทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จ เพราะขนาดยังไม่เริ่มทำเราก็บอกกับตัวเองแล้วว่าทำไม่ได้ แล้วจะเอาอะไรมาเป็นแรงพลักดัน หรือแรงกระตุ้นให้มันทำได้หรือสำเร็จล่ะ จริงไหม

Henry Ford ให้คติเตือนใจอีกว่า  
"A bore is a fellow who opens his mouth and puts his feats in it.”  
คือ “คนที่น่าเบื่อคือคนที่เปิดปาก แล้วอัดความเก่งกาจไว้เต็มปาก”
เข้ากับสำนวนที่ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ ซึ่งแปลว่า ถ้าได้ทำหรือเห็นด้วยตนเองแล้วจะเข้าใจชัดเจนมากกว่าการที่ได้แต่ฟังหรือได้ยินมาอย่างเดียว เน้นที่ต้องไปดูหรือทำด้วยตนเอง  ดังนั้น หากต้องการความสำเร็จต้องลงมือทำ

        สำหรับบทความน่าจะเสนอเรื่องราว หนทางความสำเร็จของ Bill Gates : ผู้ก่อตั้ง Microsoft  สำหรับบทความนี้ขอขอบคุณ wesupercars.com  และ Yahoo.com









วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Michael Dell ไมเคิล เดล "ตรงสู่จุดสูงสุด (Direct to the top)" เรียนรู้จากความยากลำบากจนเติบโตอย่างมั่นคง

       วันนี้เราจะมาติดตามความสำเร็จของ Michael Dell ไมเคิล เดล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dell แบรนด์คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันดี แต่เราก็ไม่เคยทราบกันเลยว่าเจ้าของบริษัทที่มียอดขายคอมพิวเตอร์และอุปกรณืไอทีสูง ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าอย่าง Dell เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยซะด้วยซ้ำแต่กลับรวยระดับโลก เขาทำอะไรกับชีวิตของเขาถึงประสบความสำเร็จมากแบบนี้ อยากรู้กันแล้วก็ไปติดตามกันเลย


MICHAEL DELL

       วัยเด็ก ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 3 ไมเคิลก็เริ่มมองหาประกาศนียบัตรรับรองการจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว ซึ่งถ้ามีทางไหนที่จะทำให้เขาเรียนสำเร็จได้ด้วยความรวดเร็วและไม่ยากเกินไปแล้ว เขาก็พร้อมที่จะทดลอง และการแลกเปลี่ยนเวลากว่า 9 ปี ไปกับข้อสอบง่าย ๆ เพียงชุดเดียวทำให้เขาเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก

       เมื่อตอนที่ไมเคิลอายุประมาณ 12 ปี เขาได้รับบทเรียนสำคัญบทแรกที่ทำให้เขามองเห็นประโยชน์จากการส่งตรงแบบไม่ผ่านคนกลาง โดยเปลี่ยนความสุขจากการสะสมแสตมป์ไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "โอกาสทางการค้า" เขาเล็งเห็นว่านักจัดประมูลทำการประมูลก็เพื่อหวังค่าธรรมเนียม ดังนั้นถ้าเขาอยากขายแสตมป์ ทำไมจะต้องยอมเสียเงินให้แก่นักจัดประมูล สู้จัดเองไม่ดีกว่าหรือ สิ่งแรกที่เขาทำก็คือ ชักชวนเพื่อนบ้านให้มาลงชื่อและฝากแสตมป์ที่ต้องการนำออกประมูลไว้กับเขา หลังจากนั้นก็ลงโฆษณา "แสตมป์ของเดลล์" ในวารสารเกี่ยวกับการซื้อขายแสตมป์ สุดท้ายเขาสามารถทำเงินได้มากถึง 2,000 ดอลลาร์จากการขายในครั้งนี้

        ไม่นานหลังจากนั้น เมื่อไมเคิลอายุ 16 ปี เขาเริ่มทำงานช่วงปิดเทอมโดยสมัครเป็นคนส่งหนังสือพิมพ์ และมองเห็นโอกาสดีที่ต้องฉวยเอาไว้ให้ได้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเจ้าของหนังสือพิมพ์ส่งรายชื่อผู้ที่ขอติดตั้งโทรศัพท์ใหม่ในเมืองนั้นทั้งหมดให้กับคนขายทุกคน และแนะนำให้โทรศัพท์ไปชักชวนให้มาเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์ เมื่อทำไปได้สักพัก เขาก็เริ่มมองเห็นรูปแบบบางอย่างที่ซ่อนอยู่ภายใน โดยพบว่ามีคนอยู่สองประเภทที่สมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์คือ คนที่เพิ่งแต่งงานและคนที่เพิ่งย้ายเข้าบ้านใหม่ ดังนั้นเขาจึงเก็บรวบรวมรายชื่อคนที่เพิ่งแต่งงานจากทางอำเภอซึ่งพวกเขาจะต้องไปจดทะเบียน และรายชื่อคนที่ยื่นเรื่องขอกู้เงินซื้อบ้านจากบริษัทแห่งหนึ่ง จากนั้นก็เขียนจดหมายส่วนตัวถึงคนเหล่านี้ขอให้สมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์ ภายในเวลาไม่นาน ยอดสมัครหนังสือพิมพ์ของไมเคิลก็เพิ่มขึ้นเป็นพัน ๆ คน

       ในปี 2523 ราวกับรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ไมเคิลซื้อเครื่องแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของเขาและจับแยกออกเป็นชิ้น ๆ ทันที ด้วยความอยากรู้ว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ แต่ละชิ้นถูกออกแบบและผลิตมาได้อย่างไร และจากการติดตั้งกระดานข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเปรียบเทียบราคาเครื่องกับเพื่อน ๆ ที่สนใจคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เขาพบว่าช่องว่างระหว่างราคาที่แท้จริงและราคาขายปลีกต่างกันมากเหลือเกิน

       โดยปกติเครื่องไอบีเอ็ม พีซี จะขายในราคาประมาณ 3,000 ดอลลาร์ แต่สามารถซื้อส่วนประกอบต่าง ๆ มาประกอบเองได้ในราคาเพียง 600-700 ดอลลาร์เท่านั้น และคนที่ขายเครื่องส่วนใหญ่ก็ไม่มีความรู้ด้านนี้มาก่อน ร้านเหล่านี้ซื้อเครื่องมาในราคาประมาณ 2,000 ดอลลาร์และขายออกไปในราคา 3,000 ดอลลาร์ โดยแทบไม่มีบริการใด ๆ ให้เลย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างมากในความคิดของไมเคิล และนี่คือโอกาสที่เขาจะต้องฉวยมาให้ได้อีกครั้ง

       ในปี 2526 เมื่อไมเคิลอายุ 18 ปี เขาเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ให้ผลตอบแทนอย่างงามตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน โดยใช้หอพักของมหาวิทยาลัยเป็นที่ทำงาน ด้วยการขายเครื่องคอมพิวเตอร์เลียนแบบไอบีเอ็ม พีซี ที่ประกอบเองและมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่จำเป็น เขาไม่ได้เข้าเรียนจนกระทั่งการเรียนตกต่ำอย่างมาก พ่อของไมเคิลจึงถามว่า "พูดกันตรง ๆ ลูกอยากทำอะไรในชีวิตนี้" เขาตอบอย่างไม่ลังเลว่า "ผมอยากแข่งกับไอบีเอ็มครับ" ถึงแม้เขายังไม่รู้รายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับธุรกิจนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เขารู้แน่นอนก็คือ เขาต้องการสร้างคอมพิวเตอร์ที่ดีกว่าไอบีเอ็ม ให้คุณค่าและการบริการที่ดีกว่าด้วยการส่งตรง และต้องเป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจด้านนี้ให้ได้

การก่อตั้งธุรกิจ

กำเนิดการส่งตรง
      2 มกราคม 2527 ไมเคิลจดทะเบียนบริษัทด้วยชื่อ PC Limited ซึ่งสามารถขายได้ประมาณ 50,000-80,000 ดอลลาร์ต่อเดือนจากการขายให้คนในท้องที่ใกล้ ๆ และในปลายปีนั้นเองเขาก็จดทะเบียนบริษัทใหม่ชื่อ เดลล์ คอมพิวเตอร์ ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 ดอลลาร์ ซึ่งต่อมาในเดือนพฤษภาคมไมเคิลก็ได้ลาออกจากการเรียนเมื่อเรียนจบชั้นปีที่ 1

      ตั้งแต่เด็กแล้วที่เขาใฝ่ฝันที่จะหาทางกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะก่อตั้งบริษัทเพื่อทำธุรกิจโดยมีพื้นฐานอยู่ที่การขายโดยไม่ผ่านคนกลาง บริษัทเดลล์ขายคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้าโดยตรง ติดต่อกับผู้จัดส่งชิ้นส่วนโดยตรง และประสานงานกับพนักงานโดยตรงเช่นกัน ทั้งหมดทำโดยปราศจากขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและไม่มีประสิทธิภาพคั่นอยู่ตรงกลางเลยแม้แต่น้อย ไมเคิลเรียกสิ่งนี้ว่า "ต้นแบบตรง (Direct Model)" และใช้คำว่า "ตรงสู่จุดสูงสุด (Direct to the top)" เป็นคำขวัญประจำบริษัทเดลล์ โดยมีกลยุทธ์การแข่งขันคือ

"เข้าตลาดอย่างรวดเร็ว ให้บริการที่เหนือกว่า มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าที่ดีที่สุดให้ลูกค้า เปิดโอกาสให้ลูกค้าสั่งประกอบเครื่องคุณภาพสูงด้วยตนเอง จัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดให้ลูกค้า และเข้าสู่อินเทอร์เน็ตตั้งแต่ตอนเริ่มต้น"

ดิ้นรนเพื่อเติบโต
       ในช่วงแรกของการก่อตั้งบริษัท ถือได้ว่าเดลล์ยังเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงอยู่ ดังนั้นเขาจึงเจาะจงเลือกจ้างพนักงานที่ชอบความท้าทายและทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ไมเคิลรู้ดีว่าถ้าจ้างพวกคนเก่ง ๆ ไว้ พวกเขาก็จะนำคนเก่ง ๆ เข้ามาอีก

        เมื่อธุรกิจเดินหน้าไปได้สวย บริษัทเดลล์จึงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพียงหนึ่งเดือนหลังจากย้ายเข้ามาอยู่ในสำนักงานแห่งใหม่ ก็ต้องย้ายออกไปอยู่ที่ใหม่ซึ่งมีพื้นที่กว่า 2,350 ตารางฟุตแทน แต่บริษัทก็ยังเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ จนต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่อีกครั้ง คราวนี้ใช้พื้นที่กว่า 7,200 ตารางฟุต หกเดือนหลังจากนั้นก็ต้องย้ายอีกครั้ง คราวนี้บริษัทเติบโตเกินกว่าที่ชุมสายโทรศัพท์ อุปกรณ์สำนักงาน และโครงสร้างขององค์กรจะรับมือไหว ในที่สุดเมื่อปี 2528 เดลล์ก็ก้าวกระโดดไปอยู่ในสำนักงานที่มีพื้นที่ขนาด 30,000 ตารางฟุต ซึ่งใหญ่พอ ๆ กับสนามฟุตบอล แต่เพียงแค่ 2 ปีหลังจากนั้นก็ต้องย้ายอีกครั้ง

         ในปี 2529 เดลล์ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งด้วยการจ้าง ลี วอล์กเกอร์ มาเป็นประธานบริษัท ซึ่งมีส่วนสำคัญในการหาเงินทุนจำนวนมากสำหรับขยายงาน และกำหนดรูปแบบคณะกรรมการบริษัทเมื่อบริษัทกลายเป็นบริษัทมหาชนในปี 2531

          เนื่องจากเดลล์พูดคุยกับลูกค้าตลอดเวลา ทำให้รู้ดีว่าลูกค้าต้องการอะไร ซึ่งนี่คือสิ่งจำเป็นสำหรับบริษัทที่มีธุรกิจบนพื้นฐานความต้องการของลูกค้าอย่างเดลล์ ตั้งแต่การออกแบบ เข้าสู่กระบวนการผลิต และไปจนถึงออกจำหน่าย ทั้งหมดล้วนอยู่บนพื้นฐานความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เดลล์พบปะลูกค้าทั้งทางโทรศัพท์ แบบตัวต่อตัว ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องของสินค้า การให้บริการ และความต้องการในอนาคตผ่านอินเตอร์เน็ต

ขณะที่บริษัทอื่น ๆ ต้องเตรียมผลิตสินค้าให้พร้อมสำหรับการขายปลีก แต่เดลล์ประกอบเครื่องเฉพาะที่ลูกค้าสั่งซื้อ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าคงคลังขนาดใหญ่เพื่อเก็บสินค้า และเนื่องจากไม่ได้ขายผ่านคนอื่น ดังนั้นจึงสามารถขายคอมพิวเตอร์รุ่นที่ดีกว่า ในราคาถูกกว่าบริษัทอื่นมาก นอกจากนี้เดลล์ยังให้ความสำคัญกับลูกค้าเฉพาะกลุ่มอีกด้วย เพราะรู้ดีว่าวิธีขายให้บริษัทขนาดใหญ่แตกต่างจากการขายแบบทั่วไป ดังนั้นเดลล์จึงจ้างพนักงานขายที่มีประสบการณ์การขายโดยเฉพาะสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา บริษัทขนาดเล็ก และลูกค้ารายบุคคล

         คุณภาพเป็นอีกปัจจัยที่สามารถสร้างความแตกต่างได้ ดังนั้นเดลล์จึงเน้นออกแบบเครื่องให้ทำงานร่วมกับไอบีเอ็มได้ และเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงสุดด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตชิ้นส่วน และแนะนำให้พวกเขาพัฒนาอุปกรณ์ให้มีคุณภาพดีมากขึ้นเรื่อย ๆ

จุดแข็งสามประการที่ทำให้บริษัทเดลล์ได้เปรียบคู่แข่งคือ

1.      สามารถผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยทำงานได้เหมือนกับไอบีเอ็ม พีซี

2.      ใช้การตลาดแบบส่งตรง ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบคู่แข่ง เพราะสามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถกำจัดส่วนต่าง 25-45% ที่ต้องจ่ายให้กับตัวแทนจำหน่ายออกไป

3.      สามารถรักษาความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะไม่มีเงินทุนมากนัก แต่ก็ไม่มีสินค้าสำเร็จรูปเหลือเก็บเช่นกัน เพราะผลิตตามคำสั่งซื้อจากลูกค้า ไม่ใช่จากการคาดการณ์ของตัวแทนจำหน่าย

เรียนรู้ด้วยความยากลำบาก
      ปัญหาแรกที่เดลล์ต้องเผชิญในปี 2532 คือ การมีชิ้นส่วนที่เป็นวัตถุดิบมากเกินไป เนื่องจากเดลล์ชอบซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น หน่วยความจำ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้มาเก็บไว้ในคลังสินค้า เพื่อรับมือกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา แทนที่จะซื้อเท่าที่ต้องการ เมื่อมีของล้นคลัง สิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือการโละออกไปให้หมดแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม ทำให้รายได้ในไตรมาสที่หนึ่งเหลือเพียง 1% ต่อหุ้นเท่านั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้เดลล์จึงให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารสต๊อกชิ้นส่วนเป็นอันดับแรกจากที่เคยให้เป็นอันดับท้าย และหาทางสร้างระบบการสื่อสารแบบใหม่ที่รวดเร็วและคาดการณ์ล่วงหน้าได้

      วิกฤตครั้งต่อไปถือเป็นความผิดพลาดเนื่องจากให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากเกินไป แทนที่จะผลิตสินค้าที่มีเทคโนโลยีตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยเดลล์ได้วางแผนที่จะผลิตคอมพิวเตอร์ตระกูลใหม่ชื่อ "โอลิมปิก" ซึ่งมีเทคโนโลยีแบบครอบจักรวาล แต่สิ่งที่เดลล์ไม่ได้คิดเลยก็คือ เทคโนโลยีที่เฉียบขาดแบบนี้เป็นสิ่งสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการ ประสบการณ์จากโครงการโอลิมปิกทำให้เดลล์ต้องหันกลับมาทบทวนเกี่ยวกับงานวิจัยและการค้นคว้าใหม่ จากเดิมที่คิดกันว่า "สร้างขึ้นก่อน คนซื้อตามมาทีหลัง" เปลี่ยนเป็นออกแบบบนพื้นฐานความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรกแทน

        หลังจากได้ละเมิดกฎทอง 2 จาก 3 ข้อของบริษัท คือ หนึ่ง ต้องไม่มีสินค้าเหลือในคลัง และสอง รับฟังความต้องการของลูกค้า เดลล์ก็ได้ละเมิดกฎทองข้อที่สาม "ห้ามขายแบบที่ไม่ใช่การขายตรง" แทนที่จะยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่ทำอยู่เดิม เดลล์กลับทำตามสิ่งที่คนอื่นบอกเพื่อทดลองหาหนทางใหม่ ๆ โดยเริ่มขายคอมพิวเตอร์ผ่านทางร้านขายปลีก ซึ่งไมเคิลและเดลล์ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี กว่าจะสามารถกลับมาชื่นชมกับระบบส่งตรงได้อีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่าระบบส่งตรงทำให้เดลล์แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ ก็ตาม

มองหาจุดยืน
        เหมือนกับบริษัทอื่น ๆ เดลล์ให้ความสนใจตัวเลขบัญชีกำไรและขาดทุนเป็นพิเศษ แต่ไม่ค่อยพูดถึงเรื่องกระแสเงินสดมากนัก นอกจากนี้เดลล์ยังไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจของธุรกิจนี้เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว ประกอบกับไม่มีระบบตรวจสอบที่ดีพอ ทำให้ใช้เงินสดไปมากขณะที่กำไรเริ่มลดน้อยลง สินค้าสำเร็จรูปและยอดลูกหนี้ก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน อย่างไรก็ตามไมเคิลไม่ปฏิเสธความจริงว่ามีปัญหา ทำให้มองเห็นต้นตอของปัญหาได้ชัดเจนและหาทางแก้ไขโดยเร็วเหมือนกับการจัดการกับโครงการโอลิมปิกและปัญหาอื่น ๆ ที่ผ่านมา

      เดลล์คุ้นเคยกับการทำงานภายใต้สันนิษฐานว่า บริษัทต้องเติบโตเร็วกว่าการเติบโตของตลาด และต้องทำกำไรให้ได้ 5% อย่างสม่ำเสมอ มาถึงตอนนี้เดลล์เริ่มรู้แล้วว่าลำดับความสำคัญได้เปลี่ยนไปแล้ว โดยต้องทำให้การเติบโตช้าลงแต่สม่ำเสมอและมีเงินสดเหลือตลอดเวลาแทน สำหรับเดลล์แล้วต่อไปนี้เป้าหมายหลักของบริษัทก็คือ "มีเงิน มีกำไร และเติบโต"

      เดลล์เข้าไปในตลาดโน้ตบุ๊คตั้งแต่ปี 2531 และเป็นผู้ผลิตโน้ตบุ๊ครายแรกที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์จากอินเทล 486 พร้อมกับจอภาพสี ซึ่งมีขนาดบางและเบาที่สุด อีกทั้งยังมีโน้ตบุ๊คขนาดเล็กเป็นพิเศษอีกด้วย แต่ยิ่งออกแบบซับซ้อนเท่าใด ยิ่งทำให้นำเครื่องออกสู่ตลาดได้ช้าเกินไปเท่านั้น เพราะเสียเวลาแก้ไขแบบนานเกินไป ปัญหาแรกที่พบก็คือวิธีการออกแบบเครื่อง เนื่องจากพื้นฐานการออกแบบเครื่องโน้ตบุ๊คของเดลล์จะเหมือนกับการออกแบบเครื่องพีซีแบบตั้งโต็ะ ที่จะพยายามใส่ทุกอย่างที่เป็นไปได้เข้าไป ซึ่งไม่ใช่วิธีการออกแบบเครื่องโน้ตบุ๊คที่ถูกต้อง

      ในเดือนเมษายน 2536 เดลล์ได้จ้าง จอห์น เมดิกา ซึ่งเคยทำงานแผนกพัฒนาโน้ตบุ๊คที่บริษัทแอปเปิ้ลมาก่อนให้เป็นผู้รับผิดชอบแผนกโน้ตบุ๊ค จากสายการผลิตทั้งหมดจอห์นพบว่า มีเพียงการออกแบบเครื่องโน้ตบุ๊ครุ่น Latitude XP รุ่นเดียวที่สามารถผลิตได้จริง ซึ่งจอห์นได้แนะนำให้ยกเลิกเครื่องที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลายรุ่น และให้ความสนใจกับส่วนที่เหลืออยู่แทน

       กุญแจสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้โน้ตบุ๊ครุ่น Latitude XP โดดเด่นเหนือใครอยู่ตรงที่แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน ซึ่งสามารถทำงานได้นานกว่าเป็นสองเท่าของแบตเตอรี่แบบเดิมที่ใช้งานได้อย่างมากไม่เกินสองชั่วโมง ความต้องการเครื่องรุ่นนี้ทำให้ยอดขายโน้ตบุ๊คที่เคยมีประมาณ 2% ของรายได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2538 พุ่งขึ้นเป็น 14% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2538

       มีบางคนพูดว่า ความแตกต่างระหว่างบริษัทเดลล์กับบริษัทอื่นก็คือ ขณะที่เกือบทุกบริษัทล้วนแต่ทำผิดพลาดกันทั้งนั้น มีเพียงเดลล์เท่านั้นที่ไม่ยอมทำผิดซ้ำสอง ไมเคิลคิดว่าความผิดพลาดเป็นโอกาส กุญแจสำคัญก็คือ ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดมากที่สุดเพื่อที่จะไม่ต้องทำผิดซ้ำอีก

เติบโตอย่างมั่นคง
     ในช่วงต้นปี 2533 เดลล์มีวิธีแนะนำสินค้าออกสู่ตลาดมากมายหลายวิธีซึ่งวิธีเหล่านี้ใช้ได้ดีขณะที่บริษัทยังเล็กอยู่ แต่เมื่อบริษัทใหญ่ขึ้น มีสินค้าหลากหลายมากขึ้น เดลล์จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนมาตรฐานสำหรับใช้ในการนำสินค้าออกสู่ตลาด ดังนั้นเดลล์จึงจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดกระบวนการพัฒนาสินค้าสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่มาโดยเฉพาะ เพื่อสร้างขั้นตอนเฉพาะที่เหมาะสมกับเดลล์มากที่สุด กระบวนการแบบใหม่จะทำให้เกิดการใช้ภาษาและข้อตกลงแบบเดียวกันทั้งองค์กรเกี่ยวกับว่า จะพัฒนาสินค้าและแนะนำออกสู่ตลาดได้อย่างไร

       นอกจากนี้เดลล์ยังนำระบบการรายงานแบบคู่และการบริหารงานแบบเมตริกซ์มาใช้ ซึ่งเป็นระบบที่มีทั้งการกำกับ ตรวจสอบ และรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้ต้องมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดการแบ่งปันความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันไปทั่วทั้งบริษัทอีกด้วย

       โดยทั่วไปบริษัทต่าง ๆ จะแบ่งแผนกตามชนิดของสินค้า แต่เดลล์แยกแผนกตามชนิดของลูกค้า เดลล์เชื่อว่าความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกำหนดได้ดีว่า ควรพัฒนาสินค้าตัวไหนเพื่อให้ตรงกับที่ลูกค้าต้องการ และเนื่องจากเดลล์ส่งตรงไปที่ลูกค้า การเข้าใจความต้องการของลูกค้าทำให้ตอบสนองได้ดีกว่า ด้วยความคิดที่จะใช้โอกาสที่มีให้ได้มากที่สุด ทำให้เดลล์ต้องแบ่งแผนกต่าง ๆ ออกเป็นธุรกิจย่อยหลายหน่วย แต่ละหน่วยจะมีฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเทคโนโลยี ฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิค และฝ่ายผลิตเป็นของตนเอง ซึ่งใช้ได้ผลดีมาก ทำให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้ใกล้ชิดมากขึ้นและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเดลล์กับลูกค้าเป็นไปได้ด้วยดี เดลล์มีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญความต้องการเฉพาะกลุ่มหลายหน่วย เมื่อบริษัทโตขึ้น เดลล์ได้แบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นลูกค้าขนาดใหญ่ ลูกค้าขนาดกลาง สถาบันการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล บริษัทขนาดเล็ก และลูกค้าทั่วไป

       นอกจากการแบ่งกลุ่มย่อย และถอนตัวออกจากธุรกิจขายปลีกแล้ว เดลล์ยังเสริมจุดแข็งที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก ในการทบทวนรูปแบบส่งตรงครั้งใหม่เดลล์พบว่า การบริหารสินค้าคงคลังไม่เพียงเป็นหัวใจของความแข็งแกร่งเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสดีอีกมากมายที่คู่แข่งยังไม่เคยพบมาก่อนอีกด้วย เนื่องจากเดลล์ผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ทำให้ไม่มีสินค้าสำเร็จรูปเหลือในแต่ละวัน เดลล์ปรับระบบให้ผู้ส่งชิ้นส่วนส่งเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องการ ทำให้จำนวนวัตถุดิบที่ต้องเก็บไว้ลดน้อยลงมากอันทำให้ส่งสินค้าให้ลูกค้าได้รวดเร็วมากขึ้น ลูกค้าจึงมีความสุขมากขึ้น และความสามารถในการแข่งขันของเดลล์ก็ดีขึ้น ที่สำคัญก็คือ ระบบนี้ทำให้สามารถส่งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดให้ลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องมีคุณภาพของข่าวสารข้อมูลที่ดีด้วย

       ในปี 2538 เดลล์ต้องเผชิญกับสถานการณ์ชนิดที่ว่าถ้าไม่โตก็ต้องตายอีกครั้งหนึ่ง บริษัทส่วนใหญ่มีแนวโน้มรวมตัวกันมากขึ้น และเดลล์ต้องเผชิญกับการท้าทายครั้งใหม่ที่ต้องขยายตราสินค้าให้มากขึ้น โดยต้องไม่จำกัดอยู่ที่เครื่องแบบตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊ค ซึ่งก้าวต่อไปของเดลล์คือ เซิร์ฟเวอร์ การเข้าไปในตลาดเซิร์ฟเวอร์ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสที่ดีอย่างเดียว แต่ยังเป็นความจำเป็นทางด้านการแข่งขันด้วย เนื่องจากคู่แข่งรายใหญ่ของเดลล์คือ คอมแพ็ค ไอบีเอ็ม และฮิวเล็ตต์ แพ็กการ์ด ใช้กลยุทธ์การนำกำไรจำนวนมากที่ได้จากการขายเซิร์ฟเวอร์ไปชดเชยการขาดทุนที่เกิดจากการขายเครื่องแบบอื่น ๆ ดังนั้นถ้าเดลล์ไม่เข้าไปในตลาดเซิร์ฟเวอร์ เดลล์จะถูกโจมตีจากคู่แข่งในตลาดเครื่องแบบตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊คได้


หลักการการบริหารของเดลล์

1. สร้างหุ้นส่วนให้แข็งแกร่ง
  • ระดมพลทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ ด้วยเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ พิเศษ และสำคัญมาก แล้วบริษัทจะได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาที่แท้จริงจากพวกเขา ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการสร้าง และรักษาวัฒนธรรมของการแข่งขันไว้ให้ได้ก็คือ การทำงานร่วมกับคนอื่นที่มีเป้าหมายและกลยุทธ์เหมือนกัน
  • ลงทุนเพื่อความสำเร็จระยะยาว ด้วยการว่าจ้างพนักงานที่พร้อมสำหรับงานในอนาคต แล้วถ่ายทอดแนวคิดแบบนี้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับรู้
  • อย่าปล่อยให้การหาคนที่มีพรสวรรค์อยู่ในมือของฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพียงลำพัง การหาพนักงานเก่ง ๆ มาทำงานด้วยคือปัจจัยสำคัญที่ชี้ขาดว่าธุรกิจจะอยู่หรือไป เพราะไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงไหนก็ตาม การแสวงหาคนเก่งเข้ามาร่วมงานเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำได้ยากมาก
  • บ่มเพาะความรู้สึกของการปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอให้เกิดขึ้นกับพนักงาน ความสำเร็จไม่ใช่สิ่งตายตัว และวัฒนธรรมขององค์กรก็ไม่ควรตายตัวเช่นกัน จะต้องให้ความสนใจกับสิ่งที่พนักงานทำได้สำเร็จ และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับพวกเขา ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดเพื่อรักษาพนักงานที่มีพรสวรรค์เอาไว้คือ การอนุญาตให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงงานที่ทำให้เหมาะสมกับความสามารถของพวกเขา ในบางครั้งการลดความรับผิดชอบบางอย่างลง ก็สามารถช่วยให้พวกเขามีเวลาวิเคราะห์หาสิ่งใหม่ ๆ และทำให้กิจการของบริษัทรุ่งเรืองขึ้นด้วย
  • มีส่วนร่วมในทุกรายละเอียดของธุรกิจ การมีส่วนร่วมทำให้เดลล์สามารถรักษาความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สุดของเดลล์ไว้ได้ ทำให้ตัดสินใจได้รวดเร็วเพราะรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
2. สร้างกลยุทธ์ของบริษัทที่ทุกคนเป็นเจ้าของ
  • การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย ในธุรกิจที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็วขนาดนี้ มันไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ผู้นำยุคนี้ต้องเป็นคนที่แสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
  • ทำเรื่องที่ไม่ชัดเจนให้ชัดเจนออกมา ถ้าต้องการที่จะแก้ปัญหาของลูกค้า จงตรงไปถามลูกค้าว่า เขาอยากเห็นปัญหาได้รับการแก้ไขแบบไหน วิธีการแก้ปัญหาแบบเข้าถึงอย่างนี้จะนำไปสู่ความคิดแบบใหม่ ๆ
  • ยอมรับความผิดพลาดให้ได้ ตราบใดก็ตามที่มันทำให้เรามีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็ไม่มีความเสี่ยงอะไรที่จะพยายามรักษาหน้าเอาไว้
  • จงเป็นมนุษย์เจ้าปัญหา แม้กับเรื่องที่ดีอยู่แล้วก็ตาม และอย่าพยายามที่จะกลบเกลื่อนข่าวร้ายหรือปฏิเสธปัญหาที่ยุ่งยาก เวลาคือทุกสิ่ง ยิ่งจัดการกับปัญหาได้เร็วเท่าใด ปัญหาก็ถูกแก้ไขเร็วเท่านั้น
  • แสดงเป้าหมายของบริษัทให้ทุกคนได้รู้ ทำองค์กรให้สอดคล้องกับลูกค้า ไม่ใช่สอดคล้องกับผังการดำเนินงาน และสนับสนุนให้ทุกคนในบริษัททำแบบเดียวกัน
  • ดูแลลูกน้องทุกคนให้เหมือนกับเจ้าของบริษัท เมื่อใดก็ตามที่เขาเป็นเจ้าของสิ่งที่เขาทำ พวกเขาจะเริ่มมองเป้าหมายที่ใหญ่มากขึ้น ความรู้สึกภาคภูมิใจบวกกับความมุ่งมั่นเหมือนผู้ลงทุนเองใช้ได้ดีมากในการทำให้เกิดความรับผิดชอบ
3. เรียนรู้จากต้นตอโดยตรง
  • อย่าพอใจที่จะรู้เฉพาะงานที่ทำเพียงอย่างเดียว แต่จงเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ผ่านมาของลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่เพียงรู้แค่บริษัทคู่แข่งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนรู้บริษัทอื่น ๆ ทั่วไปด้วย ความพึงพอใจของลูกค้านั้นไม่มีขอบเขตที่แน่นอน และผู้นำด้านการให้บริการในอนาคตจะข้ามขอบเขตนี้ออกไปและทิ้งคนอื่น ๆ ให้อยู่ข้างหลัง
  • อย่าปล่อยให้ทรัพยากรที่มีค่า (เช่น เวลา เงินทุน และพลังงาน) ต้องสูญเสียไปกับการคาดเดาว่าสิ่งไหนจะเหมาะสมกับลูกค้า จงพัฒนาสิ่งที่ลูกค้าต้องการและอยากได้จริง ๆ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าพอใจมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ลดลงและกำไร

      เป็นอย่างไรกันบาง "ความผิดพลาดก่อให้เกิดความสำเร็จ" จงเรียนเรียนรู้จากอดีตเพื่อแก้ไข้ข้อพิดพลาด แล้วเราจะประสบความสำเร็จ อย่าง ไมเคิล เดล 
   
   สำหรับบทความหน้าเราจะไปต่อกันที่ความสำเร็จของ Henry Ford : ผู้ก่อตั้ง Ford Motor  ที่ตัดสินใจออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 16 เพื่อไปตามหาความสำเร็จ  เรื่องราวของ Henry Ford จะเป็นอย่างไรนั้น บทความหน้าเราจะได้ทราบกัน

สำหรับบทความนี้ขอบคุณ
thaidellclub.com

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

CoCo Chanel (Gabrielle Bonheur) ชีวิตกว่าจะประสบความสำเร็จ

        วันนี้เราจะมาติดตามความสำเร็จของ CoCo Chanel ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Chanel  กัน ตามที่สัญญาไว้จากบทความ 10 มหาเศรษฐีระดับโลก  ที่เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย  ไปติดตามกันเลย


        Coco Chanel หรือชื่อจริง Gabrielle Bonheur ดีไซเนอร์ แฟชั่นโลก ที่ชอบไข่มุก เป็นชีวิตจิตใจ จากแฟ้ม ประวัติดีไซเนอร์ เธอเกิดในเมือง Saumur เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส ปี 1883  แล้วตายเมื่อ 10 มกราคม 1971 อายุได้ 88 ปี  
        เธอเกิดในครอบครัวที่ยากจน แม่เธอเสียชีวิตเมื่อเธออายุได้ 6 ขวบทิ้งเธอและพี่น้องอีก 4 คน ไว้กับพ่อ ซึ่งไม่นานพ่อของเธอก็หายตัวไป เธอถูกส่งไปอยู่ที่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในแคว้น Auvergne และเติบโตที่นั่น เธอหาเลี้ยงชีพด้วยการเย็บผ้า

         เรื่องราวชีวิตของ Coco Chanel นั้นเหมือนกับชีวิตของ “ อีสาวบ้านนอก ” ผู้ใฝ่ฝันและทะเยอทะยาน เหมือนกับอีกหลายเรื่องราวหลากหลายผู้คนที่พวกเราเคยได้ยิน เธอเปลี่ยนชื่อเป็น Coco Chanel เมื่อเริ่มต้นอาชีพการเป็นนักร้องในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะไปมีความสัมพันธ์ในฐานะ “ เมียน้อย ” กับ นายทหารผู้ร่ำรวย Etienne Balsan ผู้ซึ่งเป็น รักแรก เป็นผู้อุ้มชูชีวิตเธอ เป็นนายทุนให้เธอย้ายมาอยู่ที่ ปารีส และ เปิดร้านขายหมวกแห่งแรก ด้วยการสนับสนุนของชายผู้นี้
        เธอเริ่มงานด้าน Fashion ที่ Shop เล็กๆ ในกรุงปารีส และเปิดกิจการ Couture เป็นของตัวเองครั้งแรกในปี 1914 เธอเป็นผู้ปฏิวัติวงการแฟชั่น ด้วยการได้พบเห็น แฟชั่นโบราณ แบบเก่าๆของผู้หญิง ไฮโซ ใส่หมวกใบใหญ่ๆ เสื้อมีคลุ่ยวุ่นวาย มาเป็นการใส่ชุดแบบ ยูนิฟอร์มสีดำเท่ห์ๆ
        กิจการของเธอต้องหยุดชะงั้กเนื่องจากสงคราม โลกครั้งที่ 1 และเปิดอีกครั้งในปี 1919 ซึ่งในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 นี้ เธอกลายเป้น Designer ชื่อดังที่มีแต่คนเข้ามา ไม่เว้นแต่การร่วมงานกับ นักศิลปะชื่อดังอย่าง Picasso, Diaghiley ,Cocteau หรือ Dancer ชื่อดังอย่าง Serge Lifar ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เธอดังขึ้นอย่างเป็นทวีคูณ ด้วยชุดกลางวันที่ดูเรียบงายแต่แผงไปด้วยความหรู ด้วยสี ขาว ดำ เบจ หรือ สีแดงกับสี pastels(สีเจอขาว)
       แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปารีสถูกยึดโดยนาซีเยอรมัน ทำให้เธอจำเป็นต้องปิดกิจการและไปทำงานรับใช้ชาติในฐานะพยาบาล แต่แล้วความสัมพันธ์ของเธอกับ Hans Gunther von Dicklage คู่รักซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซี ก็ทำให้ชื่อเสียงของเธอตกต่ำและถูกเนรเทศจากสังคมชาวปารีสอยู่เกือบ 15 ปี กว่าที่เธอจะมีโอกาสได้กลับเข้าสู่วงการแฟชั่นอีกครั้งในปีค.ศ. 1954
     Chanel ต้องปิดกิจการอีกครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลบไปใช้ชีวิตทีประเทศสวิส เซอแลนด์ ช่วงปี 1939 8 ปีให้หลัง   หลังจากสงครามโลกเธอตัดสินกลับสู่วงการธุกิจเสื้อผ้าอีกครั้งด้วยวัย 70 ต้นๆ ในปี 1954  ผลงานของเธอในกระโปรงทรง New Look กับสายคาดเอว นำรายได้มหาศาลให้เธออีกครั้งหนึ่ง  หลังจากนั้น Jacket ไม่มีปกเสื้อบางเบาที่มีสายผูกบริเวณคอ กระโปรงสอบยาวแค่หัวเข่า รวมถึง การประดับไข่มุก และโซ่ทองในเครื่องแต่งกาย  ล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมอย่างสูงในสตรีไม่เว้นแต่ยุโรป
      ช่วงปี 1922 Chanel ได้เริ่มสนใจในการผลิตน้ำหอม โดยเริ่มจาก   Chanel No. 5 เธอได้รับรางวัลมากมายและเป็นที่ไว้ใจในการดูแลเครื่องแต่งกายให้แก่สตรี ชั้นสูงหลายคน ไม่ว่าจะเป็นระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน หรือแม้แต่สตรีอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา   เธอจบชีวิตเมื่อวันที่ 10 มกราคม ปี 1971 ที่นครปารีส

       Coco Chanel เธอประกาศกร้าวความเป็นอิสระแห่งเพศหญิง ท้าทาย  โดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด ๆ เธอกราดเกรี้ยวกับแฟชั่นที่กักขังผู้หญิงอยู่ในชุดอันรัดรึง พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า   นี่หรือคือผลรางวัลสำหรับผู้หญิงยุคใหม่ ผู้หญิงที่รอดมาจากพิษภัยสงครามอย่างนั้นหรือ...

“ ฉันสร้างแฟชั่นสำหรับผู้หญิงที่มีชีวิต ที่ยังหายใจอยู่ และรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่สำหรับผู้หญิงที่ต้องไปทำงาน โยน คอร์เซต อันแข็งราวกับกระดูกทิ้งไป ไม่มีผู้หญิงคนไหนหรอกที่จะสามารถทำงานได้ ในขณะที่ถูกกักขังอยู่ในคอร์เซตอันรัดติ้วขนาดนั้น ”

       ปัจจุบันกิจการของมาดามชาแนล อยู่ภายใต้การบริหารงานของ Alain Wertheimer และ Gerard Wertheimer ซึงเป็นหลานของ Pierre Wertheimer ผู้ร่วมก่อตั้ง House of Channel โดยมี คาร์ล ลาเกอร์ฟิลด์ (Karl Lagerfield) ดีไซน์เนอร์ชาวเยอรมัน เป็นผู้ดูแลการออกแบบของผลิตภัณฑ์ชาแนลทั้งหมดในตำแหน่ง Artistic Director ซึ่งเขาก็สามารถสืบสานสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของมาดามชาแนล และนำมาผสมผสานในงานของเขาได้อย่างลงตัว
       แม้ว่ามาดามชาแนลจะอำลาโลก นี้ไปร่วม 35 ปีแล้ว แต่สไตล์ของเธอที่เป็นตำนานมากว่า 90 ปีนั้น ยังคงเป็นอมตะไม่ผิดไปจากคำกล่าวของเธอที่ว่า “Fashion comes and goes but style remains” นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมสินค้าชาแนลหลายรุ่นยังเป็นที่นิยมจนกลายเป็นรุ่น “timeless classic” เช่น กระเป๋าลายข้าวหลามตัดรุ่น 2.55 ซึ่งชื่อรุ่นมีที่มาจากเดือนและปีที่เปิดตัวกระเป๋ารุ่นนี้ คือเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1955 หรือแจ็กเกตผ้า tweed เดินเส้นด้วยไหมเงินหรือทอง เป็นต้น
         เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ Coco Chanel ก้าวขึ้นมายืนเป็นแฟชั่นดีไซน์เนอร์สุดหรู ระดับไฮเอนด์ของฝรั่งเศสได้ ทั้งๆที่เธอโตมาจากเมืองเล็กๆในฝรั่งเศสเท่านั้น และไม่ได้รับการศึกษาสูงมากมาย ชีวิตของเธอต้องผ่านร้อนผ่านหนาวเจอผู้คนมาเยอะ จากการเริ่มงานในวัยสาวด้วยการเป็นนักร้องในคาบาเร่ต์ และชื่อนิคเนมว่า Coco ที่เราคุ้นหูกันดีนั้น มีที่มาจากการที่เธอ ได้ขับร้องเพลง “Who’s Seen Coco in the Trocadero” ในคาบาเร่ต์  นั่นคือ  ความฝัน  เป้าหมายที่ชัดเจน และความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ทำให้เธอเปลี่ยนชีวิตจากเด็กหญิงกำพร้าบ้านนอก สู่การเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Chhanel ที่คนทั่วโลกรู้จัก
      สำหรับท่านผู้อ่านท่านไดยังไม่หนำใจกับเรื่องราวของ Coco Chanel ในบทความนี้  หรือยังอยากจะทราบเรื่องราวมากกว่านี้ สามารถหาหนังอัตชีวประวัติของCocoChanel มาชมกันได้ แล้วท่านจะได้รู้อย่างลึกซึ้งว่า  กว่าจะได้มาเป็นแบรนด์โก้หรูในตำนานอย่าง Chanel ได้นั้น ตัวเธอเองต้องผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้าง ตลอดจนวิธีคิดในการตัดสินใจ ณ ช่วงเวลานั้น ที่จะเลือกทางเดินให้กับชีวิตของตัวเอง
สำหรับคราวหน้าความสำเร็จต่อไปที่เราจะไปติดตามกันนั้น คือ Michael Dell : ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dell  อย่าลืมมาติดตามกันนะ

สำหรับบทความนี้ขอขอบคุณ

DorothyBrandShop

Wide Wonderland

thaitopwedding 

YouTube