วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) เศรษฐีติดดิน "มีแต่ให้"


 สวัสดีครับวันนี้เราจะมาติดตามเรื่องราวของเศรษฐีท่านหนึ่งที่ม่เงินมากเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยก็ว่าได้ แต่เขากลับใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนคนธรรมดาทั่วไป ไม่หรูหรา เราไปติดตามเรื่องราวของเขากันเลยครับ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) เศรษฐีติดดิน  "มีแต่ให้"

วอร์เรน บัฟเฟตต์ เกิดที่เมืองโอมาฮา ในรัฐเนแบรสกา ได้ซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ปี เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่วอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และได้ย้ายไปเรียนและจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกา หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปี 1951
สมัยเป็นเด็ก วอรร์เรน บัฟเฟต์ เคยหารายได้พิเศษด้วยการติดตั้งตู้เกมส์พินบอลหยอดเหรียญในร้านตัดผมและเคย เป็นเด็กขายหนังสือพิมพ์มาก่อน
เมื่อครั้งที่ยังศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียอยู่นั้นวอร์เรน บัฟเฟต์ได้ศึกษาถึงปรัชญาการลงทุนจาก เบนจามิน เกรแฮม หลังจากนั้นก็นำปรัชญาการลงทุนจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ มาปรับประยุกต์เข้าด้วยกัน วอร์เรน บัฟเฟต์ ถือเป็นนักลงทุนที่เน้นคุณค่าของหุ้นที่มั่นคงในระยะยาวมากกว่าการเก็งกำไรในระยะสั้น
วอร์เรน บัฟเฟต์มีมิตรสหายเป็นมหาเศรษฐีชื่อ บิลล์ เกตส์ ซึ่งเคยชวนให้เขาร่วมลงทุนในบริษัทไมโครซอฟท์ แต่วอรร์เรนก็ขอปฏิเสธ เนื่องจากไม่มีความเข้าใจในระบบธุรกิจประเภทนี้

เขาเป็นนักทำเงินที่เก่งที่สุดในโลก วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีทรัพย์สินมากกว่า GDP ของประเทศกว่าครึ่งบนโลก  เขามีเงินกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ และเขาทำทั้งหมดได้ แค่เพราะเขาลงทุนให้ถูกบริษัทเท่านั้น

“คนบางคนก็มี ความสามารถบางอย่างมากกว่าคนอื่น คนส่วนใหญ่ก็ร้องเพลงได้ดีกว่าผมเยอะ ผมเองก็แค่ทำเงินได้เก่งกว่าคนส่วนใหญ่เท่านั้นเอง”


คน มีชื่อเสียงทุกคนอยากเข้าหาเขา แต่บัฟเฟตต์กลับยังติดดินได้ เศรษฐีร่ำรวยคนอื่นๆ มันตกเป็นเป้าการด่าทอ และตัวคุณบัฟเฟตต์ก็แคลงใจคนเหล่านี้เช่นกัน

“ความคิดที่ว่าคนพวกที่ยักย้ายทรัพย์สินไปทั่วเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์นั้น ผมรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากสภาพที่ควรจะเป็นเยอะเลย”


บัฟเฟตต์บริหาร บริษัทชื่อว่า เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ (Berkshire Hathaway) ซึ่งมีมูลค่าหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านดอลลาร์ แต่กลับเช่าพื้นที่สำนักงานเพียงชั้นเดียว บัฟเฟตต์ไม่ชื่นชอบความอลังการ

“ก็ บริษัทเราเหมาทั้งชั้นนี้น่ะครับ ผมก็อยู่นี่มา 47 ปีแล้ว เริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม 1962 เราค่อยๆเติบโตมาถึงจุดนี้ มีพนักงานทั้งหมด 20 คนที่นี่ แต่ถ้ารวมทั่วโลกก็ประมาณ 240,000 คนครับ และมีที่นี่เป็นสำนักงานใหญ่ ถึงจะดูเหมือนไม่ใช่ก็ตาม”


โอมาฮามีชีวิตชีวาขึ้นมาปีละครั้ง ผู้ถือหุ้นบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ จะหลั่งไหลกันเข้ามา คนจำนวน 35,000 คนเดินทางมายังงานประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท บ่อยครั้งงานนี้ถูกขนานนามว่าเป็น เทศกาลวู๊ดสต๊อคของนักทุนนิยม (Woodstock for Capitalists) ใครๆก็สามารถซื้อหุ้นของเบิร์กเชียร์ และเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในความสำเร็จของบัฟเฟตต์ได้

“นี่ล่ะครับ กระแสทุนนิยมของแท้”


ที่งาน ประชุมผู้ถือหุ้น บัฟเฟตต์ถูกรุมล้อมไปด้วยฝูงชนและกล้องบันทึกภาพ เป็นภาพที่เราคาดจะได้เห็นจากเศรษฐีคนดัง แต่เมื่อหลบออกจากแสงสปอตไลท์แล้ว เขาอยู่ในโลกที่ต่างออกไปมาก ไม่เหมือนกับเศรษฐีคนอื่นๆ เขาอยู่ในโลกแห่งความจริง
 

บ้านของบัฟเฟตต์ เขาซื้อมันมาในราคา 31,000 เหรียญเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว มันตั้งอยู่บนหัวมุมถนนของย่านอยู่อาศัยที่น่าอยู่พอดูในเมืองโอมาฮา
“ผมมีความสุขที่นั่นครับ ถ้าผมคิดว่าอยู่ที่อื่นแล้วมีความสุขมากกว่าผมคงย้ายไปแล้ว ผมไม่เห็นว่าการมีบ้านสิบหลังทั่วโลกจะทำให้ชีวิตผมดีขึ้นยังไง ถ้าผมอยากจะเป็นเศรษฐีด้านอสังหาริมทรัพย์ ผมคงจะทำอาชีพนั้นไปแล้ว แต่ผมไม่อยากจะต้องจัดการกับบ้านตั้งสิบหลัง และผมก็ไม่อยากให้คนอื่นมาจัดการให้ผมด้วย และผมก็ไม่เห็นว่ามันจะทำให้ผมมีความสุขมากขึ้นตรงไหน”
ผมอุ่นพอในหน้าหนาว และเย็นสบายพอในหน้าร้อน มันสะดวกสบายสำหรับผม ผมนึกภาพบ้านที่ดีกว่านี้ไม่ออกแล้วครับ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ประกาศยกมรดกให้การกุศลเป็นหุ้นจำนวน 85% ของหุ้นส่วน B ทั้งหมดที่เขาถืออยู่ในบริษัท Berkshire Hathaway คิดเป็นเม็ดเงินมากถึง 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่องค์กรการกุศล 5 องค์กรด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ มูลนิธิ Bill and Melinda Gates องค์กรการกุศลที่ใหญ่ที่สุดในโลกของ Bill Gates อภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งจะได้รับในสัดส่วนสูงที่สุดคือ จำนวน 10 ล้านหุ้น หรือประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญ โดยทยอยรับเงินตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นจำนวน 5% และอีก 5% ของหุ้นที่เหลืออยู่ในปีต่อๆ ไป จนกว่าทั้ง Bill และ Melinda ไม่เกี่ยวข้องในมูลนิธิอีกต่อไป อย่างไรก็ดี เงินบริจาคส่วนนี้ไม่สามารถคิดเป็นเม็ดเงินที่แน่นอนได้ เพราะขึ้นอยู่กับราคาหุ้นที่มีขึ้นมีลงอยู่ตลอดเวลาในอนาคต

บัฟเฟตต์ กล่าวว่า "การตัดสินใจทั้งหมดนี้มีส่วนมาจากการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของ Susan Thompson Buffett ซูซานภรรยาสุดรักของเขาเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเธอมีอายุอ่อนกว่าเขา 2 ปี และเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ชอบพูดติดตลกเสมอว่า เธอจะมีชีวิตอยู่นานกว่าเขา และเมื่อเขาเสียชีวิต เธอจะได้รับมรดกหุ้นจากเขา และจะนำเงินที่ได้จากหุ้นบริจาคให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเธอจะเป็นผู้ดูแลด้วยตัวเอง" ดังนั้น บัฟเฟต์ ในฐานะที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงต้องการสานฝันของภรรยาของเขาขณะที่เขายังมีลมหายใจ

เมื่อครั้งที่ บัฟเฟตต์ แต่งงานกับ ซูซาน ซึ่งเขาเรียกเธอว่า "ซูซี่" เขาบอกกับเธอว่า "ผมกำลังจะรวย" นั่นคือเวลากว่า 50 ปีที่แล้ว ซึ่ง ซูซาน เองในขณะนั้นไม่ได้ใส่ใจหรืออาจจะไม่เชื่อด้วยซ้ำกับคำพูดของเขา ซึ่งอีก 10 ปีต่อมาหลังแต่งงาน บัฟเฟตต์ ด้วยวัยเพียง 36 ปี มีเงินในบัญชีถึง 6.8 ล้านเหรียญ เมื่อ 40 กว่าปีก่อนเรียกว่าเป็นมหาเศรษฐีทีเดียว สองสามีภรรยาคิดไม่ถึงว่า พวกเขาจะมีเงินมากมายขนาดนั้น ต้องมานั่งคิดกันว่าจะทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมาลงเอยที่ "คืนให้แก่สังคม" ซึ่งตรงกับความตั้งใจของ ซูซาน ที่มีมาโดยตลอด เป็นที่มาของมูลนิธิ บัฟเฟตต์ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาของ University of Nebraska ต่อมา บัฟเฟตต์ เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิ Susan Thompson Buffett เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ภรรยาผู้ล่วงลับ

 วันนี้เขาค้นพบองค์กรการกุศลที่เขาคิดว่า เป็นองค์กรที่จะสานต่อความตั้งใจของเขาและภรรยาได้อย่างดีที่สุด คือ มูลนิธิ Bill and Melinda Gates ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ Bill และ Malinda เป็นผู้ก่อตั้ง ดูแล และบริหารด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว จากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า "ทุกชีวิตของคนบนโลกใบนี้มีความเท่าเทียมกัน" โดยเป็นมูลนิธิที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งในสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งมูลนิธิให้การสนับสนุนโครงการและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องของ การศึกษา สุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชากร โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา หรือสีผิว นับตั้งแต่การวางแผนครอบครัว ไปจนถึงโครงการขจัดและต่อสู้โรคร้ายต่างๆ เช่น เอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค เป็นต้น นอกจากนี้เงินส่วนหนึ่งของมูลนิธินี้ยังมุ่งตรงไปที่การพัฒนาการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และห้องสมุดในสหรัฐอเมริกาเองด้วย

หลายคนตั้งคำถามว่า เหตุใดเขาจึงไม่ยกหุ้นทั้งหมดให้แก่ลูกๆ ทั้ง 3 คน เขาให้เหตุผลว่า ลูกของเขาทั้ง 3 คน คือ Susan, Peter และ Howard เกิดมาในครอบครัวที่พรั่งพร้อมที่ให้ทั้งความรัก ความอบอุ่น และที่สำคัญคือ มีโอกาสที่ดี มีการศึกษาทั้งจากห้องเรียนและจากที่บ้าน พวกเขาสามารถตั้งตัวเองได้ในระดับต้นๆ ของสังคมอยู่แล้ว ยิ่งกว่านั้น ลูกๆ ของเขาทุกคนก็จะได้รับมรดกจากเขาอยู่ดีเมื่อเขาหมดลมหายใจแล้ว ดังนั้นเขาคิดว่า มันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และมีเหตุผลที่จะทุ่มเทพวกเขาด้วย "เงิน" (จำนวนมหาศาล) อีกในทางกลับกัน เขาคิดว่า "เงิน" อาจจะเป็นตัวทำลายลูกๆ ของเขาก็เป็นได้...นั่นคือสไตล์ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์

วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวไว้ว่า "ความมั่งคั่งของเขาไม่ได้มาจากคุณสมบัติพิเศษหรือการทำงานหนัก แต่มาจากการที่เขาเกิดมาถูกที่และถูกเวลา ผนวกกับความสามารถเฉพาะตัวที่สามารถแปลงหุ้นให้กลายเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล" ทำให้เขากลายเป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับสองของโลกรองจาก บิลล์ เกตส์ เพื่อนสนิทต่างวัยของเขาที่วันนี้กลายมาเป็นผู้ร่วมบุญ

วันนี้ทั้งครอบครัว บัฟเฟตต์ และครอบครัว บิลล์ เกตส์ จับมือกันสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันให้เกิดในทุกสังคมเท่าที่แรงกายและ แรงใจของพวกเขาจะสามารถทำได้ และพร้อมที่จะสานต่อไปในอนาคต ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นพวกเขาจะคงเหลือเพียงแต่ชื่อให้จารึกไว้ในความทรงจำ


ขอบคุณเรื่องราวความสำเร็จแบบสมถะ
ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett)
>wikipedia  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
>trueplookpanya.com  คลังความรู้ดิจิทัล
>gotomanager.com  ผู้จัดการ 360 องศา