สตี เฟน พอล จอบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955
ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
เป็นบุตรนอกสมรสของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัย กับศาตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์
มารดาแท้ๆ ยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ครอบครัว ?จอบส์?
ซึ่งมีหัวหน้าครอบครัวเป็นช่างเครื่อง โดยขอสัญญาว่า
บุตรชายของเธอจะต้องได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
เมื่อโตขึ้น จอบส์เข้าศึกษาต่อที่ Reed College ในเมืองพอร์ตแลนด์
รัฐโอเรกอน ได้เพียง 6 เดือน ก็ลาพักเรียน
เพราะไม่เห็นความน่าสนใจของสิ่งที่เขาเรียนอยู่
แต่เขาก็กลับเข้าศึกษาใหม่อีก 1 ปีครึ่ง โดยลงเรียนเฉพาะ คอร์สที่เขาสนใจ
เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษร (ซึ่งภายหลังเขาได้นำไปใช้ประโยชน์
ในการออกแบบตัวพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ Macintosh) หลังจากนั้น
เขาหยุดเรียนถาวรและไม่ได้ศึกษาจนจบมหาวิทยาลัยตามที่มารดาแท้ๆ
ของเขาหวังไว้
ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยนี้เองที่จอบส์เริ่มหันมาศึกษา พุทธศาสนานิกาย
เซน เขาสนใจอ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนาหลายเล่ม และหนังสือที่มีอิทธิพล
สูงสุดกับเขาคือ Zen Mind, Beginner's Mind ซึ่งเขียนโดยชุนริว ซูซุกิ
กล่าวกันว่า หลังการศึกษาหลักธรรมของเซน จอบส์เริ่มมีความเชื่อว่า
การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณนั้น ก่อให้เกิดปัญญา
เขาจึงเริ่มฝึกสมาธิในห้องนอนแคบๆ ที่แชร์ร่วมกับ "แดเนียล คอตคี"
เพื่อนสนิท ท่ามกลางกลิ่นธูป
ใน ปี 1974 จอบส์ ในวัย 19 ปี ได้ขอลาพักงานประจำ
ที่เขาทำอยู่ในบริษัทเครื่องเล่นวิดีโอเกมส์ Atari เพื่อเดินทางไปอินเดีย
เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมกับเพื่อนรัก "แดเนียล คอตคี"
เพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการรู้แจ้งเห็นจริงด้านจิตวิญญาณ
และเมื่อเดินทางกลับสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง เขาได้กลายเป็นพุทธศาสนิกชน
สวมเสื้อผ้าแบบอินเดียโบราณและโกนศีรษะ
หลังจากนั้น เขาได้แวะเวียนไปที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส ในเมืองลอส อัลทอส
รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นประจำ ที่นี่เขาเริ่มฝึกการบำบัดแบบกรีดร้องดังๆ
และรับประทานผลไม้เป็นอาหาร และผลไม้ที่เขาโปรดปรานเป็นพิเศษก็คือ แอปเปิ้ล นั่นเอง
ในปี 1976 ขณะอายุ 21 ปี จอบส์ได้เข้าทำงานกับบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด
และเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนอย่างจริงจังกับ "โกบุน ชิโนะ โอโตโกวะ"
พระอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส (ซึ่งภายหลัง
เมื่อจอบส์เข้าพิธีแต่งงานแบบเซน กับ "ลอรีน เพาเวล" ในวันที่ 18 มีนาคม
1991 พระอาจารย์โอโตโกวะได้มาเป็นประธานในพิธี)
ใน ปี 1976 จอบส์และเพื่อนสมัยเรียนที่ชื่อ ?สตีฟ วอซเนียก?
ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Apple Computer ขึ้นที่โรงรถในบ้านของจอบส์
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตา
ได้แก่เครื่อง Apple I และเพียง 10 ปีให้หลัง Apple ก็เติบโตจากคนเพียง 2
คนกลายเป็นบริษัทใหญ่โตที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ และพนักงานมากกว่า
4,000 คน!!
เมื่อ จอบส์อายุ 30 ปี หลังจากเพิ่งเปิดตัว Macintosh
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดของตัวเองได้ปีเดียว
เขาถูกไล่ออกจากบริษัทที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้ง หลังจากทะเลาะกับผู้บริหาร
และกรรมการบริษัทก็เข้าข้างผู้บริหารคนนั้น
เรื่องนี้เป็นความสูญ เสียครั้งใหญ่ในชีวิตของเขา จอบส์กล่าวว่า
เขาได้สูญเสียสิ่งที่ได้ทำมาตลอดชีวิตไปในพริบตา
ถึงกับคิดจะออกจากวงการคอมพิวเตอร์ไปชั่วชีวิต
เขาไม่ได้ทำอะไรหลังจากนั้นอีกหลายเดือน
แต่แล้วความรู้สึกอย่าง หนึ่งก็สว่าง ขึ้นข้างในตัวของจอบส์
ซึ่งเขาค้นพบว่า ตัวเองยังคงรักในสิ่งที่ทำมาแล้ว ความล้มเหลวที่ Apple
ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความรักที่เขามีต่อสิ่งที่ได้ทำมาแล้วได้ ดังนั้น
เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งต่อมาเขาได้พบว่า
การที่เขาถูกไล่ออกจาก Apple ได้กลายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิต
เพราะภาระอันหนักจากการประสบความสำเร็จในอดีตที่เขาแบกไว้นั้น
ได้ถูกแทนที่ด้วยความเบาสบายในการเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง
ซึ่งช่วยปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ
นั่นก็คือเขาได้ปล่อยวางความสำเร็จเก่านั้นลง
และเริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่เบาสบาย เบิกบาน
เป็นจิตของผู้เริ่มต้นอย่างที่เขาเคยบอกไว้นั่นเอง
จอบส์กล่าวว่า ความล้มเหลวเป็นยาขม แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้
เมื่อชีวิตเล่นตลกกับคุณ จงอย่าสูญเสียความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณรัก
ดังนั้นคุณจะต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ
เพราะวิธีเดียวที่จะทำให้คุณเกิดความพึงพอใจอย่างแท้จริง
คือการได้ทำในสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันยอดเยี่ยม
และวิธีเดียวที่จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ก็คือ
คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณทำ และถ้าหากคุณยังหามันไม่พบ
อย่าหยุดหาจนกว่าจะพบ และคุณจะรู้ได้เองเมื่อคุณได้ค้นพบสิ่งที่คุณรักแล้ว
หลัง จากนั้น เขาได้เริ่มตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT และ Pixar
(ซึ่งขณะนี้เป็นสตูดิโอผลิตการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก)
ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องแรกของโลกนั่นคือ Toy Story
ส่วน Apple ซึ่งไร้เงาของจอบส์นั้น ไม่ได้เฟื่องฟูขึ้นเลย
ดังนั้นบริษัทฯจึงได้หันมาซื้อบริษัท NeXT เพื่อทำให้จอบส์ได้กลับคืนสู่
Apple อีกครั้ง รวมทั้งเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นขึ้นที่ NeXT
ก็ได้กลายเป็นหัวใจในยุคฟื้นฟูของ Apple
ในปีค.ศ. 199ุุ6 แอปเปิลได้ซื้อกิจการบริษัทเน็กซ์ คอมพิวเตอร์ด้วยราคา 402ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำจอบส์กลับมาสู่บริษัทที่เขาก่อตั้งเอาไว้ ในปีค.ศ. 1997
เขาได้กลายเป็นผู้บริหารระดับสูง"ชั่วคราว"ของแอปเปิล
หลังจากที่ผู้จัดการหลายคนเสียความเชื่อมั่นในตัว จิล อะเมลิโอ
ผู้บริหารระดับสูงในขณะนั้นที่ถูกถอดออก
ในช่วงที่กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำของแอปเปิล จอบส์เรียกชื่อตำแหน่งของเขาว่า
"ไอซีอีโอ" (iCEO)
25 เคล็ดลับความสำเร็จของ Steve Jobs
1. Beginners don’t have baggage – เริ่มอย่างไร้กังวล
เริ่มต้นเล็กแต่คิดใหญ่
ผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเริ่มจากศูนย์แล้วนับหนึ่ง
จากเอแล้วไปบี มักเป็นคนที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ดีๆ
“ผมไม่รู้คุณค่าของปรัชญานี้จนกระทั่งผมโดนเฉดหัวออกจากแอ็ปเปิ้ลครั้งแรก
นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับผมเลยทีเดียว
ความกดดันในความสำเร็จถูกแทนที่ด้วยความรู้สึกโปร่งโล่งสบายของการเป็นผู้
ที่เพิ่งเริ่มต้น ไม่ต้องกังวลกับสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น
เป็นช่วงเวลาที่ผมมีความคิดสร้างสรรค์และมีไอเดียกระฉูดมากที่สุด”
2. Be bold – จงห้าวหาญ
สตีฟมักย้ำถึงการทำสิ่งที่ชัดเจนด้วยความกล้าและปราศจากความกลัว เขากล่าวว่า “ชีวิตคนสั้นนัก จะตายเมื่อไหร่ไม่รู้”
2. Be bold – จงห้าวหาญ
สตีฟมักย้ำถึงการทำสิ่งที่ชัดเจนด้วยความกล้าและปราศจากความกลัว เขากล่าวว่า “ชีวิตคนสั้นนัก จะตายเมื่อไหร่ไม่รู้”
3. Be what’s next – มองหาสิ่งใหม่
มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ จงเรียนรู้ อย่าฟูมฟายกับอดีตที่จบไปแล้ว
อย่าคร่ำครวญกับสิ่งที่หายไป
เราควรที่จะคิดถึงสิ่งใหม่ๆในชีวิตของเราที่ยังรอการค้นพบ
บางครั้งก้าวแรกอาจจะแสนยาก แต่จงเริ่มต้นทำ และความกล้าหาญจะเกิดขึ้นตามมา
“ถ้าผมได้บริหารแอ็ปเปิ้ล
ผมคงจะมุ่งพัฒนาให้แม็คอินทอชเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าสุดๆ
ด้วยการคิดค้นลูกเล่นใหม่ๆ สงครามพีซีมันจบนานแล้ว และไมโครซอฟท์คือผู้ชนะ”
4. Design by committee doesn’t work. – อย่าให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาตัดสินชี้ชะตา
มัน เป็นเรื่องยากที่จะออกแบบอะไรซักอย่างตามความต้องการของพวกคนที่มานั่ง ประชุมกัน คนเราส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าอยากได้อะไรจริงๆ จนกว่าจะได้เห็นสิ่งนั้น”
5. Design is more than veneer – การออกแบบไม่ใช่การสร้างเปลือกนอกเพื่อห่อหุ้ม แต่มันคือสิ่งที่มีมิติและมีองค์ประกอบซ้อนกันหลายชั้น
“ใน บริบทของใครหลายคน การออกแบบเป็นแค่การสร้างเปลือกนอก เป็นแค่การตกแต่งภายใน เปรียบเสมือนผ้าหุ้มโซฟา แต่สำหรับผมแล้ว การออกแบบคือจิตวิญญาณขั้นต้นของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ที่มีหัวใจของการออกแบบที่ดีแสดงออกถึงพิ้นผิวของมัน ซึ่งทับซ้อนกันอยู่หลายระดับ”
6. Don’t live someone else’s life – จงใช้ชีวิตในแบบของคุณ
“ช่วง เวลาชีวิตสั้นนัก อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่าด้วยการทำตามผู้อื่น อย่ายึดติดกับกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และอย่าปล่อยใจไปตามความคิดของคนอื่น เหนือกว่าสิ่งอื่นใด ทำตามที่หัวใจคุณเรียกร้องและสัญชาตญาณ”
7. Drive to do great things – ค้นหาความทะเยอทะยานและปรารถนาที่แท้จริงของคุณให้พบ “นึกถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และทำมันให้แตกต่างจากคนอื่น หนทางเดียวที่จะสร้างผลงานยิ่งใหญ่ได้ก็คือรักในสิ่งที่คุณทำ จงสร้างความประทับใจให้ตัวเองมิใช่ผู้อื่น”
8. Excellence is a way of life – มองหาความเป็นเลิศ
สตี ฟได้บรรลุแนวทางนี้ด้วยการนำศิลปะและวิศวกรรมมาเรียงร้อยด้วยกันอย่างลงตัว เขาได้ยกระดับของสุนทรีย์แห่งการออกแบบให้สูงขึ้น “คุณภาพและความงามคือเป้าหมายสูงสุด หลายคนมักไม่คุ้นเคยกับสภาวะการทำงานที่ต้องอาศัยความเป็นเลิศ เพราะไม่ต้องใช้มันบ่อยนัก ถึงกระนั้นความเป็นเลิศคือหัวใจสำคุญที่สุดของการทำงาน”
9. Get out of the way for the moving force – จงอย่าเป็นตัวถ่วง
สตี ฟไม่เคยเก็บคนไร้ประโยชน์เอาไว้ เขาตระหนักดีว่าคนที่ทำงานคือพวกที่สร้างประโยชน์ “หน้าที่หลักของผมคือทำให้คนที่ทำงานจริงๆ นั้นอยู่ดีมีสุข และเก็บพวกคนที่ไม่ทำงานเอาไว้ให้ห่างจากคนที่มีประโยชน์เหล่านี้”
10. If they fall in love with the company, everything else takes care of itself – มองหาคนทำงานที่มีความรักทุ่มเทให้กับองค์กร
“จริง อยู่ที่สมรรถภาพคือตัวแปรแห่งความสำเร็จ แต่คนทำงานเหล่านั้นจะรักบริษัทหรือเปล่า ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเขารักแอ็ปเปิ้ล เขาจะนำพาแต่สิ่งที่ดีที่สุดมาสู่แอ็ปเปิ้ล ไม่ใช่ทำเพื่อตัวผมหรือตัวเองหรือใครก็ตาม”
11. It better be worth it. – ไม่ลองไม่รู้ จงทำให้ดีที่สุด อย่ามัวแต่หยุดนิ่งอยู่กับที่
“เมื่อเราได้เลือกแล้วว่าจะทำอะไร ฉะนั้นจงเชื่อว่ามันจะออกมาดีคุ้มค่าเหนื่อย”
12. It’s not the money. It’s the impact.- เงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต คุณค่าของเราอยู่ที่การได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่โลก
“ผมไม่แคร์หรอกว่าจะได้นอนกอดเงินเป็นล้านอยู่ในหลุมศพ สิ่งสำคัญสำหรับผมคือการได้ระลึกถึงสิ่งดีงามที่เราได้ทำลงไปก่อนเข้านอน”
13. It’s the crazy ones who change the world – จงคิดนอกกรอบ
กล้าทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น คนที่บ้าพอที่จะทำในสิ่งที่ไม่เหมือนใครสามารถเปลี่นแปลงโลกได้ เพราะสิ่งนั้นคือผลพวงของอัจฉริยะ
14. Innovation distinguishes between a leader and a follower.- สร้างนวัตกรรมใหม่
นวัต กรรมจะเป็นตัวชี้วัดว่าใครเป็นผู้นำ ใครเป็นผู้ตาม จ้างคนที่ต้องการทำสิ่งที่ดีที่สุดในโลกมาทำงาน ถึงแม้คุณจะมีคนทำงานเก่งกาจมากมาย คุณต้องเป็นผู้นำ ทำหน้าที่ชี้นำให้พวกเขาทำงานร่วมกันเป็นทีม “นวัตกรรมไม่ได้เกิดจากการหว่านเม็ดเงิน มันเกิดจากการใช้มันสมองของคนให้เต็มที่ด้วยการเป็นผู้นำที่ดี ตอนที่เราคิดค้นเครื่องแม็คขึ้นมา ไอบีเอ็มใช้เงินลงทุนมากกว่าเรา 100 เท่า มันอยู่ที่คนของคุณ อยู่ที่แนวทางของการนำพาคนเหล่านั้น”
15. Make people great. – เคี่ยวเข็ญคนของคุณให้เป็นคนเก่ง
“ผมจะไม่ทำตัวเหลาะแหละกับลูกน้อง หน้าที่ผมคือเขี่ยวเข็ญให้พวกเขาเก่งยิ่งขึ้นไปอีก”
16. Perseverance pays off.- ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น
สตีฟเชื่อว่า “ครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบทั้งมวลแห่งความสำเร็จของพวกนักลงทุนทางการเงินคือความวิริยะอุตสาหะ”
17. Put your heart and soul into it – จงทำมันให้เต็มที่ เพราะเป้าหมายมีไว้พุ่งชนและพิชิต
“กุญแจสำคัญคือความไม่กลัว ทำงานด้วยหัวใจและจิตวิญญาณแห่งการบรรลุเป้าหมาย”
18. Pick your priorities carefully – ลำดับความสำคัญอย่างระมัดระวัง
การ มีไอเดียดีๆ ในหัวเป็นร้อยเรื่องคือสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่มันจะกลายเป็นเรื่องเยี่ยมที่สุด หากเราลำดับความสำคัญให้ดี “การเพ่งความสนใจให้กับทุกเรื่องในหัวเป็นสิ่งดี แต่นั่นไม่ใช่คำตอบแห่งความสำเร็จ ควรยึดมั่นในบางอย่างก็พอ แล้วปล่อยที่เหลือเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจ”
19. Simplicity wins – ความเรียบง่ายคืออาวุธลับและอำนาจที่จะทำให้พิชิตความสำเร็จ
“เรา ควรตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน และขจัดความยุ่งยาก ด้วยการตั้งคำถามว่า เราจะทำให้มันเรียบง่ายมากขึ้นและแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นได้ในเวลาเดียวกันได้ หรือไม่”
20. Talent is a huge multiplier.- พรสวรรค์ทำให้เกิดการแตกหน่อ คนเก่งมักดึงคนเก่งให้มาอยู่ด้วยกัน
“ประสบการณ์ สอนผมว่า การที่เราได้คนเก่งมาร่วมงาน ทำให้องค์กรสามารถดึงคนเก่งจากที่อื่นมาร่วมงานได้มากขึ้น ทั้งนี้โดยธรรมชาติของคนพวกนี้ มักชอบทำงานกับคนเก่งด้วยกัน”
21. Take responsibility for the complete user experience.- ความคิดเห็นจากผู้ใช้และลูกค้าคือเสียงสำคัญ
“ดี เอ็นเอของเราคือบริษัทที่คำนึงถึงผู้บริโภค เสียงตอบรับไม่ว่าดีหรือร้าย บวกหรือลบ ล้วนแล้วแต่มีบทบาทเท่ากันในการปรับปรุงการให้บริการ หน้าที่ของเราคือการรับผิดชอบต่อสิ่งที่ลูกค้าได้รับจากเรา”
22. What you don’t do defines you as much as what you do – “ผมมีความภูมิใจในสิ่งที่ยังไม่ได้ลงมือทำเท่ากับสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว”
23. You have nothing to lose.- ไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว
ทำ ด้วยใจ สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ด้วยความรัก “อีกไม่กี่วันพวกเราก็ตายแล้ว ฉะนั้นอย่าไปคิดว่าเราได้สูญโอกาสไปแล้วเท่าไหร่ การคิดแบบนี้เหมือนกับดักทางความคิด ให้คิดว่าเราได้เปลือยกายจนล่อนจ้อน จะมีเหลืออยู่ก็แต่ร่างกายและหัวใจ จงทำทุกอย่างให้เต็มที่”
24. You just might be right, even if nobody listens to you. -การที่ไม่มีใครฟังคุณ ไม่ได้หมายความว่าคุณผิดสที ฟเคยเจอกับตัวเอง เลยเล่าให้ฟังงว่า “คุณรู้มั้ย ผมเคยมีแผนการวิเศษที่จะช่วยกู้ชีพแอ็ปเปิ้ลได้ มันเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ผมไม่สามารถบอกใครได้ เพราะไม่มีใครยอมฟัง” อุทาหรณ์ของเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การที่ไม่มีใครฟังคุณเลย ไม่ได้หมายความว่าคุณผิด
25. Your brand is your most valuable asset – จุดยืนของตัวเองคือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด
นั่นคือคุณแตกต่างจากคนอื่น ทำให้คนอื่นทราบว่านี่แหละคือตัวคุณ นี่แหละคือออร่าของคุณ
4. Design by committee doesn’t work. – อย่าให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาตัดสินชี้ชะตา
มัน เป็นเรื่องยากที่จะออกแบบอะไรซักอย่างตามความต้องการของพวกคนที่มานั่ง ประชุมกัน คนเราส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าอยากได้อะไรจริงๆ จนกว่าจะได้เห็นสิ่งนั้น”
5. Design is more than veneer – การออกแบบไม่ใช่การสร้างเปลือกนอกเพื่อห่อหุ้ม แต่มันคือสิ่งที่มีมิติและมีองค์ประกอบซ้อนกันหลายชั้น
“ใน บริบทของใครหลายคน การออกแบบเป็นแค่การสร้างเปลือกนอก เป็นแค่การตกแต่งภายใน เปรียบเสมือนผ้าหุ้มโซฟา แต่สำหรับผมแล้ว การออกแบบคือจิตวิญญาณขั้นต้นของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ที่มีหัวใจของการออกแบบที่ดีแสดงออกถึงพิ้นผิวของมัน ซึ่งทับซ้อนกันอยู่หลายระดับ”
6. Don’t live someone else’s life – จงใช้ชีวิตในแบบของคุณ
“ช่วง เวลาชีวิตสั้นนัก อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่าด้วยการทำตามผู้อื่น อย่ายึดติดกับกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และอย่าปล่อยใจไปตามความคิดของคนอื่น เหนือกว่าสิ่งอื่นใด ทำตามที่หัวใจคุณเรียกร้องและสัญชาตญาณ”
7. Drive to do great things – ค้นหาความทะเยอทะยานและปรารถนาที่แท้จริงของคุณให้พบ “นึกถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และทำมันให้แตกต่างจากคนอื่น หนทางเดียวที่จะสร้างผลงานยิ่งใหญ่ได้ก็คือรักในสิ่งที่คุณทำ จงสร้างความประทับใจให้ตัวเองมิใช่ผู้อื่น”
8. Excellence is a way of life – มองหาความเป็นเลิศ
สตี ฟได้บรรลุแนวทางนี้ด้วยการนำศิลปะและวิศวกรรมมาเรียงร้อยด้วยกันอย่างลงตัว เขาได้ยกระดับของสุนทรีย์แห่งการออกแบบให้สูงขึ้น “คุณภาพและความงามคือเป้าหมายสูงสุด หลายคนมักไม่คุ้นเคยกับสภาวะการทำงานที่ต้องอาศัยความเป็นเลิศ เพราะไม่ต้องใช้มันบ่อยนัก ถึงกระนั้นความเป็นเลิศคือหัวใจสำคุญที่สุดของการทำงาน”
9. Get out of the way for the moving force – จงอย่าเป็นตัวถ่วง
สตี ฟไม่เคยเก็บคนไร้ประโยชน์เอาไว้ เขาตระหนักดีว่าคนที่ทำงานคือพวกที่สร้างประโยชน์ “หน้าที่หลักของผมคือทำให้คนที่ทำงานจริงๆ นั้นอยู่ดีมีสุข และเก็บพวกคนที่ไม่ทำงานเอาไว้ให้ห่างจากคนที่มีประโยชน์เหล่านี้”
10. If they fall in love with the company, everything else takes care of itself – มองหาคนทำงานที่มีความรักทุ่มเทให้กับองค์กร
“จริง อยู่ที่สมรรถภาพคือตัวแปรแห่งความสำเร็จ แต่คนทำงานเหล่านั้นจะรักบริษัทหรือเปล่า ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเขารักแอ็ปเปิ้ล เขาจะนำพาแต่สิ่งที่ดีที่สุดมาสู่แอ็ปเปิ้ล ไม่ใช่ทำเพื่อตัวผมหรือตัวเองหรือใครก็ตาม”
11. It better be worth it. – ไม่ลองไม่รู้ จงทำให้ดีที่สุด อย่ามัวแต่หยุดนิ่งอยู่กับที่
“เมื่อเราได้เลือกแล้วว่าจะทำอะไร ฉะนั้นจงเชื่อว่ามันจะออกมาดีคุ้มค่าเหนื่อย”
12. It’s not the money. It’s the impact.- เงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต คุณค่าของเราอยู่ที่การได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่โลก
“ผมไม่แคร์หรอกว่าจะได้นอนกอดเงินเป็นล้านอยู่ในหลุมศพ สิ่งสำคัญสำหรับผมคือการได้ระลึกถึงสิ่งดีงามที่เราได้ทำลงไปก่อนเข้านอน”
13. It’s the crazy ones who change the world – จงคิดนอกกรอบ
กล้าทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น คนที่บ้าพอที่จะทำในสิ่งที่ไม่เหมือนใครสามารถเปลี่นแปลงโลกได้ เพราะสิ่งนั้นคือผลพวงของอัจฉริยะ
14. Innovation distinguishes between a leader and a follower.- สร้างนวัตกรรมใหม่
นวัต กรรมจะเป็นตัวชี้วัดว่าใครเป็นผู้นำ ใครเป็นผู้ตาม จ้างคนที่ต้องการทำสิ่งที่ดีที่สุดในโลกมาทำงาน ถึงแม้คุณจะมีคนทำงานเก่งกาจมากมาย คุณต้องเป็นผู้นำ ทำหน้าที่ชี้นำให้พวกเขาทำงานร่วมกันเป็นทีม “นวัตกรรมไม่ได้เกิดจากการหว่านเม็ดเงิน มันเกิดจากการใช้มันสมองของคนให้เต็มที่ด้วยการเป็นผู้นำที่ดี ตอนที่เราคิดค้นเครื่องแม็คขึ้นมา ไอบีเอ็มใช้เงินลงทุนมากกว่าเรา 100 เท่า มันอยู่ที่คนของคุณ อยู่ที่แนวทางของการนำพาคนเหล่านั้น”
15. Make people great. – เคี่ยวเข็ญคนของคุณให้เป็นคนเก่ง
“ผมจะไม่ทำตัวเหลาะแหละกับลูกน้อง หน้าที่ผมคือเขี่ยวเข็ญให้พวกเขาเก่งยิ่งขึ้นไปอีก”
16. Perseverance pays off.- ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น
สตีฟเชื่อว่า “ครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบทั้งมวลแห่งความสำเร็จของพวกนักลงทุนทางการเงินคือความวิริยะอุตสาหะ”
17. Put your heart and soul into it – จงทำมันให้เต็มที่ เพราะเป้าหมายมีไว้พุ่งชนและพิชิต
“กุญแจสำคัญคือความไม่กลัว ทำงานด้วยหัวใจและจิตวิญญาณแห่งการบรรลุเป้าหมาย”
18. Pick your priorities carefully – ลำดับความสำคัญอย่างระมัดระวัง
การ มีไอเดียดีๆ ในหัวเป็นร้อยเรื่องคือสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่มันจะกลายเป็นเรื่องเยี่ยมที่สุด หากเราลำดับความสำคัญให้ดี “การเพ่งความสนใจให้กับทุกเรื่องในหัวเป็นสิ่งดี แต่นั่นไม่ใช่คำตอบแห่งความสำเร็จ ควรยึดมั่นในบางอย่างก็พอ แล้วปล่อยที่เหลือเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจ”
19. Simplicity wins – ความเรียบง่ายคืออาวุธลับและอำนาจที่จะทำให้พิชิตความสำเร็จ
“เรา ควรตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน และขจัดความยุ่งยาก ด้วยการตั้งคำถามว่า เราจะทำให้มันเรียบง่ายมากขึ้นและแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นได้ในเวลาเดียวกันได้ หรือไม่”
20. Talent is a huge multiplier.- พรสวรรค์ทำให้เกิดการแตกหน่อ คนเก่งมักดึงคนเก่งให้มาอยู่ด้วยกัน
“ประสบการณ์ สอนผมว่า การที่เราได้คนเก่งมาร่วมงาน ทำให้องค์กรสามารถดึงคนเก่งจากที่อื่นมาร่วมงานได้มากขึ้น ทั้งนี้โดยธรรมชาติของคนพวกนี้ มักชอบทำงานกับคนเก่งด้วยกัน”
21. Take responsibility for the complete user experience.- ความคิดเห็นจากผู้ใช้และลูกค้าคือเสียงสำคัญ
“ดี เอ็นเอของเราคือบริษัทที่คำนึงถึงผู้บริโภค เสียงตอบรับไม่ว่าดีหรือร้าย บวกหรือลบ ล้วนแล้วแต่มีบทบาทเท่ากันในการปรับปรุงการให้บริการ หน้าที่ของเราคือการรับผิดชอบต่อสิ่งที่ลูกค้าได้รับจากเรา”
22. What you don’t do defines you as much as what you do – “ผมมีความภูมิใจในสิ่งที่ยังไม่ได้ลงมือทำเท่ากับสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว”
23. You have nothing to lose.- ไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว
ทำ ด้วยใจ สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ด้วยความรัก “อีกไม่กี่วันพวกเราก็ตายแล้ว ฉะนั้นอย่าไปคิดว่าเราได้สูญโอกาสไปแล้วเท่าไหร่ การคิดแบบนี้เหมือนกับดักทางความคิด ให้คิดว่าเราได้เปลือยกายจนล่อนจ้อน จะมีเหลืออยู่ก็แต่ร่างกายและหัวใจ จงทำทุกอย่างให้เต็มที่”
24. You just might be right, even if nobody listens to you. -การที่ไม่มีใครฟังคุณ ไม่ได้หมายความว่าคุณผิดสที ฟเคยเจอกับตัวเอง เลยเล่าให้ฟังงว่า “คุณรู้มั้ย ผมเคยมีแผนการวิเศษที่จะช่วยกู้ชีพแอ็ปเปิ้ลได้ มันเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ผมไม่สามารถบอกใครได้ เพราะไม่มีใครยอมฟัง” อุทาหรณ์ของเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การที่ไม่มีใครฟังคุณเลย ไม่ได้หมายความว่าคุณผิด
25. Your brand is your most valuable asset – จุดยืนของตัวเองคือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด
นั่นคือคุณแตกต่างจากคนอื่น ทำให้คนอื่นทราบว่านี่แหละคือตัวคุณ นี่แหละคือออร่าของคุณ
"เวลาของคุณจึงมีจำกัด
และอย่ายอมเสียเวลามีชีวิตอยู่ในชีวิตของคนอื่น
จงอย่ามีชีวิตอยู่ด้วยผลจากความคิดของคนอื่น และอย่ายอมให้เสียงของคนอื่นๆ
มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และที่สำคัญที่สุดคือ
คุณจะต้องมีความกล้าที่จะก้าวไปตามที่หัวใจคุณปรารถนาและสัญชาตญาณของคุณจะ
พาไป เพราะหัวใจและสัญชาตญาณของคุณรู้ดีว่ คุณต้องการจะเป็นอะไร"
สำหรับบทความต่อไปเราจะไปติดตามความสำเร็จของ 10 มหาเศรษฐีระดับโลก ที่เรียนไม่จบมาหวิทยาลัย คนต่อไป นั่นก็คือ James Cameron : ผู้กำกับระดับออสการ์ สำหรับเรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น คราวหน้าเรามาติดตามกัน สำหรับบทความนี้ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org , http://www.divland.com, และ http://hitech.sanook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น