วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสำเร็จของ Richard Branson ริชาร์ด แบรนสัน ผู้ก่อตั้ง Virgin

      จากบทความ 10 มหาเศรษฐีระดับโลก  ที่เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย  ตามที่สัญญาไว้ว่าเราจะมาติดตาม เจาะเบื้องลึกความสำเร็จของแต่ละท่านกัน  มาถึงตอนนี้เราจะมาดูกันว่า ความสำเร็จของ Richard Branson ริชาร์ด แบรนสัน ผู้ก่อตั้ง Virgin  เป็นมายังไง  ไปติดตามกันเลย

เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน ชายผู้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ

           การเดินทางของแต่ละคนที่ประสบความสำเร็จนั้นมีเส้นทางที่แตกต่างกันไป  ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว  "เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน" ได้ชื่อว่าเป็นชายผู้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำครับ  

            ริชาร์ด ชาร์ลส์ นิโคลัส แบรนสัน เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1950 ที่ เซาท์ลอนดอน  ในครอบครัวชนชั้นกลางของอังกฤษ ซึ่งยึดอาชีพทางด้านกฎหมายจนกลายเป็นธรรมเนียมตกทอดของตระกูล  มีบิดาชื่อ เท็ด  แบรนสัน เป็นผู้พิพากษาและเป็นนักกฎหมาย ส่วนมารดาคืออีฟ ฮันต์ลีย์-ฟลินต์ แบรนสัน เคยเป็นทั้งนักเต้นรำและนักแสดงของโรงละคร และผันตัวเองมาเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินแล้วได้พบรักกับ เท็ด แบรนสัน

             ในวัยเด็กนั้นแม่ของริชาร์ด แบรนสัน มีอิทธิพลต่อชีวิตของริชาร์ด แบรนสันมาก มักจะสอนให้แบรนสัน ในเรื่องของความมุ่งมั่น ความกล้าหาญ  สามารถพึ่งพาตนเองได้   ให้มีความรักในการผจญภัยต่างๆนานา  นั้นทำให้ชีวิตในวัยเด็กนั้น ริชาร์ด แบรนสัน  จึงมีความเด่นในด้านใช้ร่างกายมากกว่าสมอง  เขาเป็นคนที่เล่นกีฬาได้เก่งมาก  แต่ในเรื่องของการเรียนแล้วนั้นถือว่าแย่เลยที่เดียว   จุดเปลี่ยนของชีวิตก็คือเขาประสบอุบัติเหตุที่ขาทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬาได้ อีกต่อไป  ขณะที่การเรียนที่แย่ ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่เขาเรียนอ่อนเพราะเป็นโรคดีสเล็กเซีย ซึ่ง โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการอ่าน อาการของโรคนี้คือเด็กอาจจะอ่านไม่ออก หรืออ่านได้บ้าง แต่สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสรแบรนสันเองก็คิดว่าการเรียนหนังสือเป็นสิ่งที่ยากลำบากมากสำหรับเขา โดยเฉพาะเวลาที่ต้องอ่านหนังสือ  เขาจึงใช้วิธีเรียนรู้จากการลงมือทำ
            โลก ใบนี้เป็นโลกที่ท้าทายสำหรับเขา และเป็นโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ทุกวินาทีที่ผ่านไปของเขาล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ๆ เขารู้จักใช้โอกาสต่างๆที่เข้ามาในชีวิตอย่างชาญฉลาด ข้อสำคัญที่สุดคือเขาทำงานอย่างต่อเนื่องจนทำให้เขาประสบความสำเร็จสูงสุด ด้วยวัยเพียง 58 ปีเท่านั้น กลยุทธ์คือ การตั้งเป้าหมายความฝันไว้ก่อน และมองโลกอย่างท้าทาย พร้อมทั้งหาแนวทางธุรกิจใหม่ๆที่ยังไม่มีคู่แข่งขัน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการเดินไปบนถนนแห่งความสำเร็จที่ใครๆก็สามารถทำได้และ ประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็น
            เขามีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก เขารู้จักใช้การสร้างตัวเองขั้นมาจนตัวเขาเองกลายเป็น
แบรนด์ที่มีคนรู้จักและสนใจโดยไม่ต้องจ้างดารา ดังๆมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ใก้แก่สินค้าของเขาเลย เสมือนว่าทุกวันนี้เขากลายเป็นคนที่โด่งดังไปแล้วทั่วโลก บุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นบุคคลที่สื่อทุกประเภทให้ความสนใจอย่างสม่ำเสมอ เท่ากับเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรของเขาไปด้วย ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมแบรนด์ เวอร์จิ้น จึงกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอยู่เสมอโดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาอะไร
            แบรนสัน ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเป็นผู้บริหารที่ทำให้พนักงานใน องค์กรมีสำนึกในการเป็นคนในชุมชนเดียวกันมากที่สุดและทำให้พนักงานรักองค์กร มาก เขาพยายามให้พนักงานในองค์กรทำงานในเวอร์จิ้นด้วยความสนุกและมีความสุข เขาเชื่อว่าถ้าเปลี่ยนงานให้กลายเป็นการผจญภัยที่น่าตื่นเต้น จะทำให้ทัศนคติและผลงานของพนักงานต่างจากเดิมมาก ทุกวันนี้ แบรนสันยังคงทำหน้าที่เป็นประธานของเวอร์จิ้นกรุ๊ปที่ดูแลพนักงานถึง 35,000 คน

ความความสำเร็จในธุรกิจ ของ เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน

1. มีความมุ่งมั่น
           หากจะบอกว่า ดื้อ ก็คงไม่เชิง เพราะความมุ่งมั่นของแบรนสันนั้น เขามุ่งมั่นเพื่อธุรกิจ มุ่งมั่นเพื่อผลกำไร เพื่อการเติบโต เพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่มุ่งมั่นเพื่อความชนะ โดยเฉพาะคนอื่น ๆ ยกเว้นคู่แข่งของเขาคือ บริติสแอร์เวย์
          ความมุ่งมั่นของแบรนสันดูได้จากการการคิดและตัดสินใจของเขาในหนังสือ หลายเรื่อง มือเขาเห็นว่า มันน่าจะดีต่อธุรกิจ ต่ออนาคตของบริษัทเขาก็จะทำ
          ไม่มีเลยที่เขาจะมุ่งมั่นเพื่อตำแหน่ง แม้เพื่อนเขาจะมีเล่ห์กลเพื่อปลดเขาก็ตาม
 ความ มุ่งมั่นของแบรนสันนั้นทำให้ก่อเกิดธุรกิจหลากหลายของเวอร์จิ้นขึ้น ซึ่งถ้าคิดตามทฎษฎีทางการตลาด หรือทางการจัดการแล้ว ไม่ใช่เลย แต่ด้วยสัญชาติญาณของนักปฏิบัติ  มักจะมองแสงสว่างปลายถ้ำได้เสมอ
          ซึ่งคำว่า "ทำเลย" เป็นคำที่แบรนสันชอบใช้ และเขามักทำได้ เนื่องจากมีเหตุจากข้อ 1 และ 2 นั่นเอง
          เขากล้าลองผิดลองถูกเกือบทุกเรื่องที่เขาเห็นแล้วว่า ตนเองทำได้ แม้จะพลาดไปก็เยอะ แต่เมื่อบวกลบกันแล้ว เขาติดบวกมากกว่าลบ เพราะทำมากกว่าพูดนั่นเอง

2. ชอบการผจญภัย เสี่ยงตาย นักสู้
          อันนี้เป็นข้อที่ดีตรงนี้ หากไม่ผจญภัยหรือลุยด้วยตนเองแล้ว ก็จะไม่รู้และไม่เห็นความเป็นจริง การเสี่ยงตายในการท่องบัลลูนของเขา ทำให้เขาเห็นสัจธรรมหลายอย่าง ซึ่งนำมาถึงการตัดสินใจหลาย ๆ อย่างของเขา การตัดสินใจของแบรนสันเกิดจากการค้นพบโดยตัวเขาเอง มิใช่จากตำราหรือจากปริญญาโท หรือ MBA ที่คนไทยโดยทั่วไปใช้เป็นสูตรสำเร็จ
          นี่ถ้าหากว่า แบรนสันไม่มีข้อนี้ เขาก็คงเป็นพียงเจ้าของธุรกิจบันเทิงอย่างเดียว แต่เพราะชอบผจญภัยนี่เอง ธุรกิจของเขาจึงก่อเกิดขึ้นมากมาย  ผมว่า ธุรกิจใหม่ ๆ ของเขาก็คือ การผจญภัยของเขาอย่างหนึ่งนั่นเอง
          และอีกอย่าง การผจญภัยหรือการเสี่ยงตายอะไรนั้น แน่นอน คน ๆ นั้นย่อมต้องเกิดความศรัทธาในตนเองเกิดขึ้นด้วย ซึ่งถ้าความศรัทธาอยู่ในมุมของความมีเหตุมีผลและมีความมุ่งมั่น ก็น่าจะเป็นอย่างแบรนสันไม่ยาก ซึ่งข้อนี้ ผมว่า คนไทยมีอยู่มาก แต่มีไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากขาดข้อ 1, 2 และ 3

3. มองหาโอกาสทุกวินาที
           ทุกครั้งที่ธุรกิจไปได้ระยะหนึ่ง แบรนสันจะหาโอกาสเพื่อต่อยอดธุรกิจหรือเพื่อประกันความเสี่ยงให้กับธุรกิจ เสมอ แม้บางเรื่องอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทางการจัดการหรือการบริหาร แต่ด้วยสัญชาติญาณ เขาก็หาโอกาสและคว้ามันมาได้เกือบทุกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องการชี้ชวนให้คนมาลงทุน ซึ่งการปฏิบัติแต่ละครั้ง เขามักลงทุนด้วยตนเอง เข้าไปเจรจาเอง ซึ่งตรงนี้อาจจะมีจากที่เขาอยู่โรงเรียนประะจำในช่วงเด็ก ทำให้ต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก จนกระทั่งโต
           ตรงนี้ หากมามองในมุมคนไทย ส่วนใหญ่ธุรกิจไหนก็ธุรกิจนั้น

4. เป็นนักเจรจา
           ข้อนี้แม้จะไม่เด่นนัก เนื่องจากทุกครั้งที่ลูกน้องมีปัญหา เขาจะหนีปัญหาให้ผู้อื่นตัดสินใจแทน  ไม่เอาตนเองเข้าไปอยู่กับปัญหา ยกเว้นปัญหาของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของบริษัท เขาจะเดินหน้า ซึ่งด้วยความสามารในการจูงใจผู้อื่น ไม่ว่าจะตั้งแต่การขอสปอนเซอร์เพื่อมาลงโฆษณาในการทำนิตยสาร Student หรือการพูดคุยกับนักลงทุน นักการธนาคารต่าง ๆ ถือได้ว่า แบรนสันต้องใช้ทักษะการโน้มน้าวใจมาก ไม่เช่นกันคงไม่สามารถเบิกเงินเกินบัญชีได้มากมาย แม้บางครั้งจะมีปัญหากับธนาคารก็เถอะ แต่ก็ลงเอยด้วย Happy Ending เสมอ

5. การทำงานเป็นทีม
         นับแต่เรื่องนิตยสาร Student ของเขา ที่มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน แบรนสันไม่เคยก้าวก่ายงานคนอื่นเลย จนถึงงานในบ้าน ที่แม่ของเขาแบ่งหน้าที่กันระหว่างชายกับน้องสาว เขาก็ปฏิบัติมาด้วยดี
          ให้ความสำคัญกับงานบ้านก่อนเสมอ หรือแม้แต่ช่วงหลัง ๆ เขาเองก็ไม่เคยก้าวก่าวงานของทีมงานเลย และก็แสดงความมั่นใจในทีมงานทุกครั้ง (ในบทความ) ซึ่งหายากในผู้บริหารคนไทยที่มักจะพบว่า  "โง่ก็ตลาด ฉลาดก็ระแวง" หรือ "มึงเก่งกูระแวง มึงม่องแท่ง ก็ไปไกล ๆ กูซะ"
 เข้า ทำนองเจ้านายคือซูปเปอร์แมน เก่ง แม้คนงานจะลาออกมากมายเพียงใดก็ตาม แต่ก็คิดว่า กูเก่ง แม้ว่าปัญหานั้นจะมาจากคนเป็นเจ้าของบริษัทหรือกรรมการผู้จัดการหรือเจ้านาย ก็ตาม เขียนถึงเรื่องนี้แล้วเซ็ง เครียด เพราะเจอด้วยตนเองมาเยอะ


6. การสนุกที่จะทำงาน          แบรนสันจะเน้นเรื่องการจะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องสนุก แม้ความสนุกของแบรนสันจะไม่ตรงความรู้สึกของเพื่อน ๆ ก็ตาม  แต่ความสนุกของแบรนสันนั้น รวมไปถึง เล่นเป็นเวลา และทำงานเป็นเวลาด้วย ซึ่งจะสังเกตถึงงานอดิเรกหรือวันหยุดของเขา เขาจะเล่นหรือสนุกอย่างสุดเหวี่ยง และเวลาทำงานเขาก็จะทำงานอย่างสนุก โดยจะสังเกตว่า เวอร์จิ้นจะมีการจัดปาร์ตี้เพื่อให้พนักงานสามารถปลดปล่อยในช่วงสุดสัปดาห์ เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พนักงานแต่ละคนปลดเปลื้องตนเองออกจากงานแล้วสนุกกับ ปาร์ตี้ เหมือนชาร์ตแบตเตอรี่ยังไงยังงั้น

7. ความคิดเชิงธุรกิจ
          จากการที่ชอบสนุกกับงาน บวกกับความเป็นครอบครัวที่สรรหาวิธีการหาเงิน (ทุกวิถีทาง) เข้าบ้านเสมอ ตั้งแต่พ่อแม่ที่ทำกล่องจากกระดาษที่ใช้แล้ว แล้วนำไปขายส่ง รวมทั้งน้าของเขาที่สามารถสร้าง The Black Sheep Company บริษัทขายเครื่องปั้นดินเผาที่ประดับด้วยรูปแกะจนประสบความสำเร็จ เป็นแบรนด์ที่สามารถยืนหยัดได้ถึง 40 ปี ตรงนี้ทำให้แบรนสันซึมซับความคิดเชิงธุรกิจอยู่ทุกวินาที ยิ่งผนวกกับข้อ 1, 2, 3, 5 และ 6 แล้ว ยิ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า แบรนสันนั้น เขาธรรมดาอยู่บนความไม่ธรรมดา (งงอ่ะเปล่า)

8. ยอมรับความผิดพลาดของตนเองและไม่กลัวความล้มเหลว
           หลาย ข้อความในหนังสือระบุว่า เขาเองยอมรับผิดในหลาย ๆ เรื่องและหาทางแก้ไขเสมอ  ทว่า ความผิดของเขากลับไปคาราคาซังอยู่ที่ความคิดของเพื่อน ๆ ที่ไม่ยอมรับรู้ และไม่แก้ไขอะไร จนแบรนสันเองก็มักแก้ไขเองอยู่เนื่อง นี่เองที่ทำให้เขาเป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใน และไม่กลัวความผิดพลาด

ขอบคุณ
http://www.ichat.in.th/Leaddership/
http://vinsentmorro.blogspot.com
http://www.oknation.net


       คราวหน้าเราจะมาติดตามความสำเร็จของ CoCo Chanel : ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Channel  กัน ว่ากว่าจะมาเป็นแบรนด์ดังต้องผ่านอะไรมาบาง สำหรับคนที่กำลังเหนื่อย  ท้อแท้ อย่าพึ่งหมดหวังกันนะ  สู้ต่อไปสักวันมันต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน  สู้ๆ


5 ความคิดเห็น:

  1. เรื่องนีี้มันทำให้ผมรู่ว่า อย่ากลัวกับสิ่งที่ยังไม่ได้ลงมือทำ ผมจะทำในสิ่งที่ผมนั้นกำลังทำอยู่ เพราะคำว่า "ไม่กลัวความผิดพลาด" กับคำที่ว่า "ทำเลย"

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เยี่ยมครับ......ทำเลยครับ หากยังไม่ได้ทำอย่ากลัวมันครับ....สู้ๆครับ

      ลบ
    2. คุณภูธเนศ ครับ ตอนนี้ผมมี Marketing Model ใหม่ โปรเจ็คใหม่ที่กำลังจะเปิดตัวในอีกสิบกว่าวันนี้ .......ตอนนี้สามารถเรียนรู้และเป็นสมาชิกได้ฟรี........ฟรีเฉพาะช่วงก่อนเปิดตัวโปรเจ็คเท่านั้น .......ลองเข้าไปศึกษาได้ืี่ http://bit.ly/111O3Xk ลองดูนะครับ อย่าพึ่งปฏิเสธทั้งที่คุณยังไม่ได้เข้าไปศึกษาดูนะครับ.....เห็นคุณมีความตั้งใจ ผมจึงอยากแนะนำ

      ลบ